แนวทางการพัฒนาธุรกิจสินค้าที่ระลึกประเภทงานหัตถกรรมไทยในบริบทการท่องเที่ยว

Main Article Content

อภิญญา ศักดาศิโรรัตน์
อดิศรา ลออพันธุ์สกุล

Abstract

ประเทศไทยถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก และได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยว จากการมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ซึ่งก่อให้เกิดรายได้กับประเทศจากการจับจ่ายใช้สอยในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจสินค้าที่ระลึกประเภทศิลปหัตถกรรมพื้นเมือง ซึ่งเป็นสินค้าเพื่อเน้นการเตือนความทรงจำ หรือเพื่อให้ระลึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ไปเยือน และมีการซื้อกลับไปยังภูมิลำเนาของตน  โดยสินค้าที่ระลึกประเภทงานหัตถกรรมเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนในแต่ละท้องถิ่น และการประดิษฐ์สิ่งของที่ทำขึ้นจากฝีมือคน โดยปราศจากเครื่องจักรจึงส่งผลทำให้งานหัตถกรรมที่เกิดขึ้นมีรูปแบบ  ลวดลาย และสีสันที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น โดยมีผลมาจากวัตถุดิบหรือวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต ส่งผลทำให้งานหัตถกรรมมี
ความต้องการในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นตามลำดับ กระกระทั่งปัจจุบันงานหัตถกรรมกลายเป็นสินค้าตามท้องตลาดทั่วไป ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า แต่เป็นการผลิตตามคำสั่งของพ่อค้าคนกลางมากกว่า โดยเฉพาะงานหัตถกรรมในบริบทของการท่องเที่ยว ซึ่งบทความนี้ผู้เขียนได้มีการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาธุรกิจสินค้าที่ระลึกประเภทงานหัตถกรรมไทยในบริบทการท่องเที่ยว โดยใช้ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด 7P’s มาประยุกต์ใช้ใน ด้านผลิตภัณฑ์ การผลิตสินค้าของธุรกิจต้องนำเกณฑ์หรือความต้องการของลูกค้ามาเป็นตัวกำหนดในการผลิต ด้านราคา ต้องมีการกำหนดให้สอดคล้องกับต้นทุนของกระบวนการผลิต หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ต้องมีการคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึงธุรกิจ ซึ่งธุรกิจควรเลือกตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ชุมชน ห้างสรรพสินค้า เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องเวลา และความไม่คุ้นเคยเส้นทางของนักท่องเที่ยว รวมถึงการซื้อขายในระบบออนไลน์ โดยต้องมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีการใช้กระบวนการสื่อสารที่หลากหลายและสอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยธุรกิจต้องสื่อให้ลูกค้าเห็นถึงคุณค่า อรรถประโยชน์ และการบอกเล่าเรื่องราวของสินค้าผ่านป้ายราคา แผ่นพับ เอกสาร พนักงานขาย
ด้านบุคลากร
ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจเริ่มจากผู้ประกอบการต้องมีทักษะที่หลากหลาย และพนักงานมีทักษะการบริการที่ดี มีบุคลิกภาพ ภาษาพูดและภาษากายที่ดี  เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การออกแบบ และการตกแต่งทั้งภายในและภายนอกที่แสดงถึงความเป็นตัวตน และภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของธุรกิจ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าเข้าร้าน และด้านความร่วมมือทางธุรกิจ การสร้างความร่วมมือกับชุมชนที่ผลิตงานหัตถกรรมประเภทเดียวกัน หรือต่างประเภทกัน เพื่อขยายฐานการผลิตและได้กลุ่มธุรกิจที่หลากหลายขึ้น ดังนั้นแนวทางการพัฒนาดังกล่าวจะช่วยให้ทำให้ธุรกิจมีโอกาสในการเพิ่มมูลค่า (Value Added) ให้กับสินค้าของธุรกิจ ที่ก่อเกิดรายได้และลดความเสี่ยงของธุรกิจในด้านของต้นทุนสินค้า

Thailand is one of the most famous in tourism in the world and also has received rewards of amazing places. These attract the tourists to travel and make a great deal of income to country. A part of income is Handicraft-Souvenir Business especially native handicraft that’s unique in its place. The tourists have bought to their hometown. It reminds the tourists the days or the places they went. Native handicraft souvenir is handmade and local wisdom. Style and colour depend depend on each local material and native detail. These are why the handicraft is highly in need. Nowadays lots of handicrafts are at the market places but not attractive. Because of product for trader not for customer. By means of these articles, the author educated how to develop Handicraft-Souvenir Business in Context of Tourism by using the method of Marketing Mix 7P’s. In term of Product ; production should be base on criteria or needs of customer. Price ; should be set according to production process and raw material. Place ;  for distribution should be concerned with the convenience of business. The location should be in tourist attraction, community or department store due to the limitation of time and non-familiarization of place. Include the effect of online purchasing. It should be efficient service. Promotion ; should be utilized in many purposes, communicative processes and appropriation for customer. The promotion should interpret the appreciation and utilization of souvenir. Presentation on pricing tag, brochure, document  and salesman in order to promote more value. Personals ; related personals, business owners or entrepreneurs should have various skill in business. Employees should be good personality, good verbal and non-verbal communication to make customer impression. Physical evidence ; beginning with design as well as interior and exterior decoration should illustrate identity and be obvious in unique of business in order to attract customers. Partnership ; business partnership with communities where have production and in line with various business. Therefore, the method of Marketing Mix 7P’s able to develop and create value added for Handicraft-Souvenir Business

Article Details

Section
Academic Articles