กลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการทำการวิจัยในชั้นเรียนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สุกัญญา แช่มช้อย

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการทำวิจัยใน
ชั้นเรียนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัย
ในชั้นเรียนของครู จากครู จำนวน 293 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์
การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 3 การนำกลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนไปทดลองใช้ โดยคัดเลือกกรณีศึกษาโรงเรียนที่ยินดีเข้าร่วมโครงการจำนวน 4 โรงเรียน ศึกษาผลการทดลองใช้โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลองใช้กลยุทธ์ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยการประเมินความเป็นไปได้ในการนำกลยุทธ์ไปใช้ด้วยแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 215 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

กลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ระดับนโยบาย ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความตระหนักในการทำวิจัยในชั้นเรียน
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาสมรรถนะครูในการทำวิจัยในชั้นเรียน กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยใน
ชั้นเรียน กลยุทธ์ที่ 4 ใช้การจัดการความรู้เป็นฐานในการการขับเคลื่อนการวิจัยในชั้นเรียน กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาเครือข่ายการวิจัยในชั้นเรียนกับหน่วยงานภายนอก ผลการนำกลยุทธ์ไปทดลองใช้พบว่าพฤติกรรมครูก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประเมินความเป็นไปได้ของการนำกลยุทธ์ไปใช้พบว่ากลยุทธ์ทั้ง 5 มีผลการประเมินระดับมาก

            This research aimed to develop an empowerment strategy to be used by administrators under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in the lower northern area of Thailand to facilitate teachers to conduct Classroom Action Research (CAR). The research methodology was a research and development which comprised four stages. The first stage was a survey study of factors that affected teachers on conducting CAR. In this stage, questionnaires collected from 293 teachers were used. The statistical data were analyzed by means, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. In the second stage, empowerment strategies were drafted using the research results from the first stage. Group discussions among 12 experts were employed. The third stage was an implementation of the draft retrieved from the second stage to four schools as case studies and comparative teachers’ behavior on conducting CAR. The final stage was the evaluation of the possibility of the empowerment strategies. Questionnaires collected from 215 administrators were used. The statistical data were analyzed by means and standard deviations.

The results indicated as follows; the empowerment strategies for OBEC school administrators used in facilitating teacher to conduct CAR consisted of 5 policy level strategies. 1) Building awareness of conducting CAR 2) Developing CAR skills 3) Developing the CAR management system 4) Using Kknowledge Management based driven CAR 5) Developing CAR networking with the other school/district/ university. The results indicated that teacher’s behavior to conduct CAR before and after empowerment was significantly different. The evaluation of strategies was at a high level of feasibility.

Article Details

Section
Research Articles