การบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มดอยอ่างขาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34

Main Article Content

พรอนันต์ เสือคลื้น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษากระบวนการบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มดอยอ่างขาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้
คือ ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน  รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน  หัวหน้างานกิจกรรมลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ปีการศึกษา  2558  รวมทั้งสิ้นจำนวน  169  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.816 และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารกิจกรรมลูกเสือของโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มดอยอ่างขาง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 โดยแยกเป็นกิจกรรมลูกเสือ 5 ด้านได้แก่
ด้านการจัดตั้งกลุ่มหรือกอง  ด้านการบังคับบัญชาลูกเสือ  ด้านการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ
ด้านการเงินลูกเสือ  และด้านการรายงานกิจกรรมลูกเสือ พบว่า โดยรวมและรายด้าน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า สถานศึกษามีการนำกระบวนการบริหารตามแนวคิดของเกรก (Gregg) มาปฏิบัติในระดับปานกลาง  ทั้ง 7 ขั้นตอน คือ (1) การวินิจฉัยสั่งการ (2) การวางแผน (3) การจัดองค์การ (4) การติดต่อสื่อสาร (5) การจูงใจ (6) การประสานงาน และ (7) การประเมินผล  จากการสัมภาษณ์ พบว่า ด้านการจัดตั้งกลุ่ม

หรือกอง  ควรมีการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บังคับบัญชาเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มวุฒิทางลูกเสือ
และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือที่มีทักษะ ประสบการณ์ในการทำงานกิจกรรมลูกเสือ ด้านการบังคับบัญชาลูกเสือ พบว่า ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนควรแต่งเครื่องแบบลูกเสือเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี และควรมี

การนิเทศ กำกับ ติดตาม เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง  ด้านการเรียน
การสอนกิจกรรมลูกเสือ พบว่า ควรเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือมากยิ่งขึ้น ด้านการเงินลูกเสือ พบว่า 
ควรมีการระดมเงินจากชมรมครูและผู้ปกครอง ชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำงบประมาณที่ได้
มาช่วยในการจัดกิจกรรมลูกเสือ และด้านการรายงานกิจกรรมลูกเสือ พบว่า ควรนำข้อเสนอแนะจากรายงานการจัดกิจกรรมลูกเสือมาทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนากิจกรรมลูกเสือต่อไป

This research aimed to investigate the administrative process of scout activity of Doi Ang Khang cluster schools under the Secondary Educational Service Area Office 34. The target group in this study included school scout directors, deputy directors of scout school, heads of scout activity and scoutmasters in the academic year 2015 numbering totally 169 people. The tools used in the research comprised 5-rating scale questionnaires analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation and the interviews were analyzed by content analysis. The findings were as follows: The administrative process of scout activity of Doi Ang Khang cluster schools under the Secondary Educational Service Area Office 34 divided into 5 aspects of scout activities, namely group or cluster establishment, scout commanding, scouting teaching and learning, scout finance, and scouting reporting  revealed that the respondents thought as the whole picture and each aspect that the schools performed the administrative process based on Gregg’ concepts at moderate level with all 7 steps consisting of (1) directing, (2) planning, (3) organizing, (4) communicating, (5) motivating, (6) coordinating and (7) evaluating. The results of interviews were as follows.  The group or cluster establishment showed that the scoutmasters should be promoted and encouraged to attend trainings to enhance scouting qualifications and the people with scouting skills and experiences should be appointed to be responsible for scout activities. The scout commanding indicated that the school scout directors should wear scout uniforms to be as good models and should supervise, monitor and follow-up to make scouts realize their own roles. The scouting teaching and learning revealed that outsource guest speakers should be invited to provide additional knowledge to help the scoutmasters have much more knowledge and understanding of scouting teaching and learning.  The scout finance showed that some money should be raised from teacher and parents clubs, communities or organizations concerned in order that the budget obtained could 

support scouting arrangement. In addition, the scouting reports indicated that the suggestions from the scouting reports should be used for doing researches to solve problems and develop scout activities in the future.

Article Details

Section
Research Articles