การพัฒนาแบบฝกการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐาน ของนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนตน โรงเรียนบานแมนะ ตําบลเมืองนะ อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุดฤทัย อรุณศิโรจน์
เฉลิมชัย ไชยชมภู

Abstract

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานในการสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียง ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกแก้ปัญหาการอ่านออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานในการสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยกลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านแม่นะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือแบบฝึกเพื่อแก้ปัญหาการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 16 บท และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานของนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อใช้วัดผลก่อนและหลังการใช้แบบฝึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.1/80 โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์หลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย 80.0 และ 39.6 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

Section
Research Articles

References

จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล. (2552). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เด็กโรงเรียนชายแดนใช้ภาษาถิ่นเกินครึ่ง ทำผลประเมินต่ำ สพฐ.นำทวิภาษาแก้. (27 กรกฏาคม 2552). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/PrintNews.aspx?NewsID=9520 000084375

ธีรพันธ์ ล.ทองคำและคณะ. (2550). ศัพทานุกรม 15 ภาษาที่พูดในจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นฤมล มหาไพบูลย์. (2547). การพัฒนาความสามารถการออกเสียงและการเขียนคำที่สะกดด้วยแม่

กน ของนักเรียนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

บุญเหลือ เทพสุวรรณ. (2518). แนะแนวทางการศึกษาวิชาวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.

ประสงค์ รายณสุข และคณะ. (2519). การสำรวจและแก้ไขข้อบกพร่องทางการพูดของนักเรียน

ประถมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี-

นครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พจนารถ วงษ์พานิช. (2548). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาไทยแบบแจกลูกอิงแนวภาษาศาสตร์

เพื่อการซ่อมเสริม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

พรพิไล เลิศวิชา. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการ

พิมพ์.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2533). สัทศาสตร์และสัทศาสตร์ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ้งลาวัลย์ กุมภวา. (2550). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษาศาสตร์เพื่อฝึกออกเสียงคำที่มี

ตัวสะกดสำหรับนักเรียนปกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านขุนแม่นาย อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัฒนะ บุญจับ. (2538). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านทำนองเสนาะ. กรุงเทพฯ:

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

สุชานาถ ยอดอินทร์พรหม. (2549). การใช้แบบฝึกเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางกายหรือสุขภาพ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุนทร ธัญกิจจานุกิจ. (2553). ผลการสอนการอ่านคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกการอ่านคำภาษาไทยแบบแจกลูกอิงแนวภาษาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการอ่านคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุมลมาลย์ เอติรัตนะ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย.

กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

อนงค์ ดอนโคกสูง. (2546). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Lander, H. (1966). Language and Culture. New York: Oxford University Press.

Pike, Kenneth. (1947). Phonemics: A technique for reducing languages to writing. Ann

Arbor, MI: University of Michigan.