แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

มณีรัตน์ สุขเกษม

Abstract

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ใช้การวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 300 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับ
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี  อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้าน
การบริการ ด้านการบริหารจัดการ  ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง  สำหรับผลการพิจารณาเป็นรายข้อที่อยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ บุคลากรมีอัธยาศัยไมตรีจิตและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ความมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก มัคคุเทศก์และวิทยากร
มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ และการเที่ยวชมสวนผลไม้ สวนไม้ดอกไม้ประดับ และสวนสมุนไพร สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี จำแนกได้ 6 ด้าน คือ 1) ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2) ด้านกิจกรรม
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) ด้านการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น 4) ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
5) ด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก  และ 6) ด้านการตลาดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

                The purpose of this research is to identify the potential development of agro-tourism, Tambon Dong Khilek, Muang District, Prachinburi Province, and contribute to the guidelines of the potential development of agro-tourism, Tambon Dong Khilek, Muang District, Prachinburi Province and 3) to analyze the relationship of Thai tourist’s needs towards the potential development of agro-tourism, Tambon Dong Khilek, Muang District, Prachinburi Province. The samples used of the study were 300 Thai tourists and 18 key informants of agro-tourism, Tambon Dong Khilek, Muang District, Prachinburi Province. This study used mixed method research of quantitative and qualitative. The research instruments were questionnaire, in-depth interview, participatory observation and focus group. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.

The results showed that the most valuable aspects were the attractions, followed by the level of services, management, environment, and tourism activities. The moderate aspects level was facilities.  For the highest level items were staff courteous hospitality and a good host; famous and well know; tour guide and narrator with knowledge, skills, experience; and visit to the orchard and garden flower and herb garden.
For the result of qualitative research found that the guidelines of potential development of agro-tourism, Tambon Dong Khilek, Muang District, Prachinburi Province was categorized into 6 aspects; 1) agro-tourism resources 2) agro-tourism activities 3) host community participation 4) agro-tourism management 5) facilities and services and 6) agro-tourism marketing

 

Article Details

Section
Research Articles

References

กรมการท่องเที่ยว. (2552). สถิติการเดินทางท่องเที่ยวของประเทศไทย พ.ศ. 2550 (Tourists Arrivals in

Thailand ). กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2548). แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ดวงกมล รักขยัน. (2552). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการบริหารจัดการ

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎ

พระนครศรีอยุธยา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : บิสซิเนส

อาร์ แอนด์ ดี.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยว

แห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

พินิจ เนตรพุกกณะ. ( 2553). แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี. ปราจีนบุรี :

สำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี.

วรางคณางค์ จันทร์เพ็ง. (2552). การวิเคราะห์การตัดสินใจเลือกกิจกรรมและบริการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

กรณีศึกษา กลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วารุณี เกตุสะอาด. (2554). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของพื้นที่เขตทวีวัฒนา

กรุงเทพมหานคร ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย

“มสธ. วิจัยประจำปี 2554” . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2543). การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบาย

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

อนิศรา เกลี้ยงอุบล (2551). การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อโครงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Corbin, J. and Strauss. (2008). Basics of Qualitative Research. London: Sage.

Cronbach, L.J., Gleser, G.C., Nanda and H., Rajaratnam, N. (1972). The Dependability of Behavioral Measurements. New York: Wiley.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.

Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Annual Meeting of the American Educational Research Association: 60th, San Francisco, California, April 19-23, 2-37.

Saunders, M., Lewis, P., and Thornhill, A. (2009). Research Methods for Business Students. London: Harlow Financial Times Prentice Hall.