การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Main Article Content

กาญจน์ณภัทร ปัญญาโกญ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ
ที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งานประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน

วัดช่างเคี่ยน  อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 44 คน                         

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนวัดช่างเคี่ยน  อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 22 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ, แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน

การวิเคราะห์ข้อมูล การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการหาค่าเฉลี่ย และ                  ค่าร้อยละความก้าวหน้าทางการเรียน การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบก่อนเรียน           และหลังเรียน โดยทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียน-หลังเรียน และการทดสอบค่าที (t-test)                   การหาค่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จากการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้

1. แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.17/80.50

2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรมตามหลักการวิเคราะห์งาน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น  มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษที่มีกิจกรรม                            ตามหลักการวิเคราะห์งาน อยู่ในระดับมาก

The present study aimed to (1) improve of English reading and writing exercises with activities based on the task analysis for students with learning disabilities to gain efficiency criteria at 80/80                          (2) study the results of the use of English reading and writing exercises with activities based on the task analysis for students with learning disabilities. (3) study the students’ satisfaction survey concerning English reading and writing exercises with activities based on the task analysis. The population of this study was 44 learning disabilities’ students at Wat Chang Kian Primary School, Muang Chiang Mai District, Chiang Mai, in the first semester of academic year 2015. The sample consisted of 22 Mathayom Suksa 1-3 students in the first semester of academic year 2015 at Wat Chang Kian Primary School, Muang Chiang Mai District, Chiang Mai by using purposive sampling. Research instruments and data collection of this study were 12 English reading and writing exercises with activities based on the task analysis for students with learning disabilities, pre- and post- learning achievement test for students with learning disabilities which was multiple choice.  Students were required 30 questions, Individualized Education Program (IEP),  Individual implementation plan (IIP) and students’ satisfaction survey concerning English reading and writing exercises with activities based on the task analysis.

                Analyzing by finding the efficiency of English reading and writing exercises with activities based on the task analysis for students with learning disabilities with the criterion 80/80 through the use of E1/E2 formula. For investigating the learning achievement, mean and percentage of student progress were selected. The comparison of learning achievement depended on the differences of pre- and post-test’s scores, and t-test. For evaluating the scoring of students’ satisfaction from mean and standard deviation: SD.

                The result of this research revealed that:

                                1. English reading and writing exercises with activities based on the task analysis for students with learning disabilities were efficient at 88.17/80.50.

                                2. Students who completely obtained the course of English reading and writing exercises with activities based on the task analysis for students with learning disabilities had higher learning achievement’s scores than before to be significantly higher at the .01 level.

                                3. Students’ satisfaction concerning English reading and writing exercises with activities based on the task analysis displayed at the more satisfactory level.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

กาญจน์ณภัทร ปัญญาโกญ, สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ตำแหน่ง อาจารย์ ประจำสาขาวิชาการประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

References

จำนง โปธาเกี๋ยง. (2558). การใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำยากเพื่อสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดารณี ธนะภูมิ. (2542). การสอนเด็กปัญญาอ่อน. กองโรงพยาบาลราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

นิตยา บุญตัน. (2551). ผลการใช้แบบฝึกเพื่อส่งเสริมการคิดหัวข้อและการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประกฤติ พูลพัฒน์. (2547). ปัญญาอ่อนเรียนได้. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการศึกษาพิเศษ วิทยาลัยครูสวนดุสิต.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). เอกสารประกอบการสัมมนาหลักสูตรและการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยสารคาม

ศรียา นิยมธรรม. (2534). การเรียนร่วมสำหรับเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8. (2548). เอกสารประกอบการอบรมและประเมินศักยภาพ โครงการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการสอนเสริมวิชาการ. เชียงใหม่. (เอกสารอัดสำเนา).

ศูนย์พัฒนาการศึกษาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย. (2539). คู่มือการจัดการเรียนร่วม. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมเกตุ อุทธโยธา. (2549). การเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ. สาขาวิชา การศึกษาพิเศษ. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548) . การสังเคราะห์งานด้านการจัดการเรียนร่วม สู่ภาคปฏิบัติเพื่อนำสู่นโยบายการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพสำหรับเด็กและเยาวชนพิการ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ.).

ASCD. (2005). A Visit to a Data-Driven School. สืบค้นเมื่อ 13

เมษายน 2558, จาก www.ascd.org.

Miles, Christine. (1987). Special Education For Mentally Handicapped Pupils A Teaching Manual. Mental Health Center, Peshawar.

Vaughn, Sharon, Schumm, Shay Jeanne & Forgan W. James. (1998). Instructing Students With High-Incidence Disabilities in the General Education Classroom. ASCD Curriculum Handbook.