ความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดประชาชนของศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

Main Article Content

นภัสนันท์ ชมภูเทพา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดประชาชน
ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ   แม่ทา จังหวัดลำพูน ในปี พ.ศ. 2556  รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
(1) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  (2) แบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

                ความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดประชาชน ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน โดยรวม ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นว่า มีความต้องการมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก  เมื่อพิจารณาความต้องการทั้ง 3 ด้าน มีรายละเอียดดังนี้ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ข้อที่มีความต้องการสูงสุดคือ ระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย และข้อที่มีความต้องการต่ำสุดคือ บริการจองหนังสือด้วยตนเอง  ด้านสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องสมุด  พบว่า ข้อที่มีความต้องการสูงสุดคือ เครื่องทำน้ำเย็นไว้บริการ และข้อที่มีความต้องการต่ำสุดคือ เพิ่มจำนวนถังขยะ และ ด้านการให้บริการของห้องสมุด  พบว่า ข้อที่มีความต้องการสูงสุดคือ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถและมีความชำนาญ และข้อที่มีความต้องการต่ำสุดคือ บุคลากรมีความสุภาพต่อผู้ใช้บริการ ส่วนการสัมภาษณ์พบว่า  ผู้มาใช้บริการห้องสมุดประชาชน มีความต้องการเพิ่มจำนวนพัดลมหรือติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำเย็น และที่มีความต้องการมากที่สุดคือ ระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย

This research aimed to study the needs for public library service of the Non – Formal and Informal Education Center, Mae Tha District, Lamphun Province.  The target group used in this study included the public library users of the Non – Formal and Informal Education Center, Mae Tha District, Lamphun Province in 2013 with the total number of 100 people.  The tools used in the research comprised (1) rating scale questionnaires analyzed by mean and standard deviation and (2) interview analyzed by content analysis.  The findings were summarized as follows:   
                According to the needs for public library service of the Non – Formal and Informal Education Center, Mae Tha District, Lamphun Province, as the whole picture the respondents agreed with it at the most.  The aspect with the highest mean was information technology resources and the aspect with the lowest mean was environment inside and outside the public library.  When considering the needs of all 3 aspects, the details were as follows.  Regarding the information technology resources, it was found that the item with the highest need was wireless internet system and the item with the lowest need  was self-service book reservation.  Related to the environment inside and outside the library, it showed that the item with the highest need  was that there was a water cooler available and the item with the lowest need  was to add the number of trash bins.  In addition, the library service revealed that the item with the highest need was that staff had knowledge, abilities and skills and the item with the lowest need  was that staff was polite to the users.  According to the interview, it revealed that the library users needed more fans or air-conditioners and water coolers and what they needed at the most was wireless internet system.

 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

นภัสนันท์ ชมภูเทพา, หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

นางสาวนภัสนันท์  ชมภูเทพา

วัน/เดือน/ปีเกิด 9  มิถุนายน 2523

ที่อยู่ปัจจุบัน  113 หมู่ 9 ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220

โทร 088-7585239

การศึกษา บธบ.การจัดการ มหาวิทยาลัยพายัพ 

           ศศบ.สารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

           ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2555).กรอบแนวทางการดำเนินงาน “ห้องสมุด 3 ดี”. กรุงเทพมหานคร: รังสีการพิมพ์.

จุฑารัตน์ ธีรธร. (2550). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมการให้บริการของห้องสมุดที่ส่งเสริมกระบวนการ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชมพูนุช โพธิศิริ. (2551). ความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อการใช้บริการของสมุดของสถาบัน วิชาการทีโอที สํานักงานใหญ่. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ประภาวดี สืบสนธิ์. (2530). การวิจัยบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์.กรุงเทพฯ: ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรา กันธิยะ. 2550. ความต้องการของผ้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ. (2543). การจัดและบริหารงานห้องสมุด. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

สมจิต พรหมเทพ. (2542). ห้องสมุดโรงเรียน. เชียงใหม่: คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

สุภาเพ็ญ จริยะเศรษฐ์. (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. กาญจนบุรี:

สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.