บทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

สายฝน แสนใจพรม
น้ำผึ้ง อินทะเนตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์บทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถ
ด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการแสดง
บทบาทครูพี่เลี้ยงและความต้องการพัฒนาบทบาทครูพเี่ ลยี้ งในการสง่ เสริมความสามารถดา้ นการจัดการเรียนรู้
ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 คือ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
กับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การจัดการเรียนรู้และบทบาทครูพี่เลี้ยงของสถานศึกษาเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 64 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร แบบตรวจสอบ
คุณภาพขององค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้บทบาทครูพี่เลี้ยง และแบบบันทึกการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์
ข้อมูลฉันทามติโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ระยะที่ 2 คือ
การศึกษาสภาพปัจจุบันของการแสดงบทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้
ของนักศึกษาและความต้องการในการพัฒนาบทบาทครูพี่เลี้ยง โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ครูพี่เลี้ยงและ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถานศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 640 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของการแสดงบทบาทครูพี่เลี้ยงและ
ความต้องการในการพัฒนาบทบาทครูพี่เลี้ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริมความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 58 พฤติกรรมบ่งชี้ ได้แก่ การส่งเสริมด้านการเตรียม
การจัดการเรียนรู้ (12 พฤติกรรมบ่งชี้) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (8 พฤติกรรมบ่งชี้) การจัดสื่อการเรียนรู้
(9 พฤติกรรมบ่งชี้) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (15 พฤติกรรมบ่งชี้) และการสร้างบรรยากาศ
แห่งการเรียนรู้ (14 พฤติกรรมบ่งชี้) 2) สภาพปัจจุบันของการแสดงบทบาทครูพี่เลี้ยงในการส่งเสริม
ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
และครูพี่เลี้ยงมีความต้องการในการพัฒนาบทบาทโดยรวมอยู่ในระดับมาก

The research objectives were to synthesize the roles of mentor teachers in promoting the
student teachers’ learning management abilities, and to examine current conditions of the mentor
teachers’ roles. The research is divided into two phases. Phase 1 involved a study of 64 documents
relevant to professional experience teacher training, learning management, and mentor teachers’
roles in professional experience teacher training of schools in the Rajabhat University Network. The
research instruments included a document analysis record, an evaluation form, and a focus group
recording form. The data were analyzed by an item-objective-congruence index, median and
interquartile range. Phase 2 was concerned with current conditions of the mentor teachers’ roles and
their needs for development. The respondents of this study were 640 mentor teachers and student
teachers of schools in the Rajabhat University Network. The data were collected by using a
questionnaire and analyzed by mean and standard deviation. The research results were as follows: 1)
The roles of mentor teachers in promoting the student teachers’ learning management abilities
consisted of 5 factors and 58 behavioral indicators. They were promoting a learning preparation
(12 behavioral indicators), a learning management process (8 behavioral indicators), instructional
media (9 behavioral indicators), learning assesment (15 behavioral indicators), and learning to
create a learning atmosphere (14 behavioral indicators). 2) The overall current conditions of the role
of mentor teachers in promoting the student teachers’ learning management abilities were at
intermediate level, and the overall needs for the mentor teachers’ role development were at high level.

Article Details

Section
Research Articles

References

คุรุสภา. มาตรฐานวิชาชีพครู. (2556). สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2556, จาก www.ksp.or.th/ksp2013/content/view.php?mid=136&did=254

ธานี นงนุช. (2542). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ประมวล ตันยะ. (2537). ปัญหาการจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูวิทยาลัยครูนครราชสีมา. นครราชสีมา: คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูนครราชสีมา.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). การประเมินทางการศึกษา แนวคิดสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วิลาวัณย์ จารุอริยานนท์. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่. วารสารครุศาสตร์. 42(2), 104-116.

สายชล เทียนงาม และบุญเรียง ขจรศิลป์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะครูที่พึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในมหาวิทยาลัยราชภัฏ: การวิเคราะห์สมการโครงสร้างพหุระดับ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 212-225.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2553). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวปฏิรูป: ประสบการณ์จากวิทยานิพนธ์ พุธศักราช 2543-2551. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 12(2), 45-49.

สุรพล เรืองรอง อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล เมตตา นพประดิษฐ์ บุบผา เรืองรอง นิลรัตน์ อินทร์ทอง อุไร สุมาริ ธรรม และคณะ. (2549). การวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาครูและโรงเรียนเครือข่ายการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชให้เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนา วิชาชีพครู. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

อารี สัณหฉวี. (2555). ข้อคิดบางประการจากการศึกษาดูงานที่ประเทศฟินแลนด์. วิทยาจารย์. 111(8), 89-90.

Akbar, Ali R. and Jackson, D. (2012). Mind the Gap! Exploring the Tensions in Initial Teacher Training : School based Mentor Practices, Student Expectations and University Demands. Journal of Research and Reflections in Education. 6(1), 110-119. Retrieved October, 2014, from http://www.ue.edu.pk/journal.asp

Erawan, P. (2011). A Path Analysis for Factors Affecting Pre-service Teachers’ Teaching Efficacy. American Journal of Sciencetific Research. 13(2011), 47-58. Retrieved March, 2015, from http://www.eurojournals.com/ajsr.htm

Melek Koç, E. (2011) . Development of mentor teacher role inventory Izmir Institute of Technology, Department of Foreign Languages, Izmir, Turkey European. Journal of Teacher Education. 34(2), 193–208.