ปจจัยที่สงผลตอการดําเนินงานระบบดูแลชวยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในอําเภอเวียงแหง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหมเขต 3

Main Article Content

พรรณณภัทร ตาลป่า

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1)  เพื่อศึกษาปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านครู และด้านผู้ปกครอง ของโรงเรียนในอำเภอเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3  (2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน  ในอำเภอเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 และ(3) เพื่อศึกษาปัจจัย         ที่ส่งผลและสามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน  ในอำเภอเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในโรงเรียน  ในอำเภอเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3  จำนวนทั้งสิ้น 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

                    ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มตัวอย่างมีความ

คิดเห็นว่า มีการปฏิบัติมาก ส่วนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน  ใน

อำเภอเวียงแหง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 กลุ่มตัวอย่างมีความ

คิดเห็นว่า มีการปฏิบัติมาก เช่นกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อ

การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ทั้ง 3 ปัจจัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการ

ดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้ง

ไว้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เป็น 0.792, 0.908 และ 0.811 ตามลำดับ

                      สำหรับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพบว่า ปัจจัยด้านครู สามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้ร้อยละ 82.50  ส่วนปัจจัยด้านผู้บริหาร และปัจจัยด้านผู้ปกครองนักเรียนไม่สามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ โดยสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้

 

        สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

         = 0.502 + 0.881 (X2)

 

        สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

          = 0.908 ( X2 )

 

            This research aimed (1) to study the factors of administrators, teachers and guardians of the schools in Wiang Haeng District, Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3,
(2) to investigate the student care-taking system performance of the schools in Wiang Haeng District, Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3 and (3) to examine the factors affecting and being able to predict the student care-taking system performance of the schools in Wiang Haeng District, Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3.  The sample used in this study included the teachers of the schools in Wiang Haeng District, Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3 with the total number of 132 people.  The tools used in this research were 5-rating-scale questionnaires.  The statistics used for analyzing the data comprised percentage, mean and standard deviation, correlation analysis and multiple regression analysis.  The findings were as follows:
                  According to the factors of administrators, teachers and student’s guardians, the sample agreed that the performance was at high level.  Regarding the student care-taking system performance of the schools in Wiang Haeng District, Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3, the sample agreed that the performance was at high level as well.  Related to the results of relationship analysis among all 3 factors affecting the student care-taking system performance, it was found that the 3 factors had significantly positive relationship with the student care-taking system performance at the level of 0.01 according to hypothesis as set with the correlation of 0.792, 0.908 and 0.811 respectively.
                    According to the results of relationship analysis of the factors being able to predict the student care-taking system performance, it revealed that the factors of teachers were able to predict the student care-taking system performance at the percentage of 82.50 whereas the factors of administrators and the factors of guardians were not able to predict the student care-taking system performance by building predictive equations in form of raw score and standard score as follows:

                Predictive score in form of raw score

                       = 0.502 + 0.881 (X2)           

                 

                Predictive score in form of standard score

                        = 0.908 ( X2 )

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

พรรณณภัทร ตาลป่า, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

นางสาวพรรณณภัทร ตาลป่า

ครูอันดับ คศ.1 โรงเรียนบ้านขุน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่

แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและ

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับพ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวง

ศึกษาธิการ.

_________. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบดูและช่วยเหลือนักเรียนในสถาน

ศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

_________.(2553). แผนการศึกษาฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - 2559).

กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กรมสุขภาพจิต. (2546). สำนักพัฒนาสุขภาพจิต คู่มือวิทยากรระบบดูแลช่วยเหลือ

นักเรียนช่วงชั้นที่ 3-ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ:

สำนักงานกิจการโรงพิมพ์. องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ:

ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทะเล เจริญผล. (2547). การศึกษาวิธีการและปัญหาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครู

ที่ปรึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ จังหวัดนนทบุรี ปริญญานิพนธ์

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประภาศรี ศรีวงค์พันธ์. (2549). การดำเนินงานเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ประถมศึกษาของ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงใหม่

เขต 1การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต

-20 ปี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

เรืองยศ ครองตรี. (2550). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจุฬา

ภรณ์ราชวิทยาลัย วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วรรณภา เย็นมนัส. (2557.) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ของครูที่ปรึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุทัพย์ อ่อนนวล. (2554). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้าน

ปงแม่ลอบอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ เสดสีกาง. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วย

เหลือนักเรียนโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุทัย วงค์จันทร์. (2551). สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน

ที่จัดการศึกษาช่วงชั้นที่ 1-3 ในอำเภอฝาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

เชียงใหม่ เขต 3. การค้นคว้าแบบอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

ราชภัฎเชียงราย.