การประยุกต์ใช้ระบบพี่เลี้ยงเพื่อการจัดการความรู้และส่งเสริมทักษะงานวิจัยในคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต
พัชรินทร์ สารมารท
อรทัย ดุษฎีดำเกิง
ภัทริกา มณีพันธุ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเ์ พอื่ ศึกษาแนวทางในการสง่ เสริมและพัฒนานักวิจยั รุน่ ใหม ่ โดยใชเ้ ครอื่ งมือ
ทางการจัดการความรู้ ได้แก่ ระบบพี่เลี้ยงงานวิจัยในการเพิ่มทักษะงานวิจัยแก่บุคลากรสายวิชาการของ
คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิธีการวิจัยใช้เครื่องมือทางการจัดการความรู้คือ การสร้างชุมชน
นักปฏิบัติและการใช้ระบบพี่เลี้ยง มีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้น ดังนี้ 1) การจัดกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัย
พี่เลี้ยงจากอาจารย์คณะบริหารธุรกิจที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนาทักษะงานวิจัย 2) ดำเนินกิจกรรมการวิจัย
แบบพี่เลี้ยง 3) การประเมินผลการวิจัยโดยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
และ 4) การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า จัดกลุ่มนักวิจัยได้ จำนวน 14 คน รวมจำนวน 7 คู่ในแต่ละ
สาขาของคณะ ในระหว่างดำเนินโครงการระยะเวลา 3 เดือน มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการ เฉลี่ย 1-4 ครั้ง
ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง โดยใช้สถานที่ภายในและใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยพบว่า นักวิจัยที่ได้รับ
การดูแลในการให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยที่ตนเองต้องการ ได้แก่ 1) การกำหนดหัวข้อวิจัยจากการพัฒนา
โจทย์จากกิจกรรมการจัดการความรู้ของคณะบริหารธุรกิจ 2) การขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก
3) การเขียนบทความวิจัยและการนำเสนองานวิชาการในระดับนานาชาติ 4) การทบทวนวรรณกรรมและ
ทฤษฎีเพื่องานวิจัย 5) การกำหนดหัวข้องานวิจัยจากการลงพื้นที่บริการวิชาการซึ่งเป็นการบูรณาการพันธกิจ
ของมหาวิทยาลัยได้แก่ การวิจัยและการบริการวิชาการ และ 6) แนวทางการกำหนดระเบียบวิธีวิจัย
ซึ่งการวิจัยเรื่องนี้นักวิจัยที่ได้รับการดูแลสามารถกำหนดหัวข้อความต้องการเรื่องงานวิจัยได้ด้วยตนเอง
ส่งผลให้เกิดการทำวิจัยตามความสามารถและตามความสนใจของนักวิจัย อีกทั้งยังทำให้นักวิจัยพี่เลี้ยง
ได้เครือข่ายผู้วิจัยเพิ่มอีกด้วย ทั้งนี้งานวิจัยนี้จะทำได้ดีหากมีความต่อเนื่องของงานวิจัยและมีการติดตาม
ผลการดำเนินงานด้านการวิจัยในระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไป
ประกอบแผนการจัดทำนโยบาย กลยุทธ์ในการบริหารงานวิจัยของหน่วยงานต่อไป

This research aims to explore how to improve academic competencies of the researchers
by using the mentoring system at the Faculty of Business Administration, Mae Jo University,
Thailand. The study utilizes the community of practice, a knowledge management approach, which
involved 4 steps as follows: 1) matching new researchers to the mentors by using volunteer
technique from lecturers in the Faculty of Business Administration; 2) research meetings organized
by mentors; 3) research evaluation by interviewing the participants and the statistical analysis;
4) in-depth interviews. The researchers and mentors were separated into seven pairs and the
average frequency of the meets was between 1-4 times with each time lasting for 1-2 hours.
The results of research indicated that the knowledge about how to improve research competencies
were transferred to the research mentees which include 1) defining topics of research from the
project of knowledge management at the Faculty of Business Administration Mae Jo University;
2) applying for research funds from resources outside the university; 3) writing and presenting
research papers in international conferences; 4) critically writing literature reviews and understanding
research theories; 5) defining research topics with integrated research and academic service;
6) employing proper methods. This research believes that a continuous collaboration lasting more
than 1 year between the mentors and mentees can improve the academic competencies. Moreover,
results highlighted the aspects of need areas which can serve for strategic planning and organization
of future workshops at education institutes to promote researches in future.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต, College of Integrated Science and Technology Rajamangala University of Technology Lanna 98 Moo8 T.Doi Saket Chiang Mai 50220

Department of Master of Business Management, Faculty of Business Administration and Liberal of Arts, Rajamangala University of Technology Lanna

References

ณพศิษฎ์ จักรพิทักษ์. (2552). ทฤษฎีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และศุภร เสรีรัตน์. (2542). การวิจัยตลาด: ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). คู่มือการจัดการความรู้: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

วลัยพร สิงห์คำฟู. (2555). การจัดการความรู้หน่วยวิจัย งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการความรู้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระพงศ์ จันทร์สนาม. (2554). ปัจจัยความสำเร็จและข้อเสนอการวิจัยในอนาคตเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติเสมือน. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 29(3). 256-283.

Ikujiro, N. & Hirotaka, T. (1995). The Knowledge-creating Company: How Japanese Companies Create

the Dynamics of Innovation. Oxford: Oxford University Press.

Songsangyos, P. (2012). The Knowledge Management in Higher Education in Chiang Mai: A

Comparative Review. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 69, 399-403.