การพัฒนารูปแบบการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา

Main Article Content

อมร อ่อนสี
สุกัญญา แช่มช้อย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการพัฒนารูปแบบการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยกระบวนการแก้ปัญหาและมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ เพื่อ 1) ศึกษาทักษะที่จำเป็น  กระบวนการแก้ปัญหาและผลลัพธ์ในการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) สร้างรูปแบบการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา  3) ประเมินรูปแบบการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา การดำเนินการวิจัยมี  3 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1) การศึกษาทักษะที่จำเป็น กระบวนการแก้ปัญหา และผลลัพธ์ในการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ
ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับ การบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 9 คน 
โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนที่ 2) การสร้างรูปแบบการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษาและตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบฯ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  9  คน  ขั้นตอนที่ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของการนำรูปแบบไปใช้ประเมินโดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 350 คน


 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ทักษะที่จำเป็นในการบริหาร
ความขัดแย้ง ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การเจรจา 3) การสร้างความเป็นกลางและศรัทธาบารมี  4) การใช้อำนาจ 5) การฟังและการให้ข้อมูลย้อนกลับ 6) การคิดอย่างเป็นระบบและ
การมองภาพรวม 7) การเผชิญหน้าผู้อื่น  8) การควบคุมอารมณ์  9) การสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการแก้ปัญหา ประกอบด้วย  1) การกำหนดปัญหา  2) การศึกษาสาเหตุของปัญหา   3) การกำหนดทางเลือก  4) การตัดสินใจเลือกทางเลือก  5) การวางแผนและปฏิบัติตามแผน 
6) การติดตามและการประเมินผล และองค์ประกอบที่ 3 ผลลัพธ์  ประกอบด้วย 1) สถานศึกษา
2) ผู้บริหารสถานศึกษา  3) บุคลากร  4) นักเรียน  ส่วนผลการประเมินรูปแบบการบริหารความขัดแย้ง
ของโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยกระบวนการแก้ปัญหา พบว่า  มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์
อยู่ในระดับมาก


The main purpose of this research was to develop a model of conflict management in secondary schools through the problem-solving process. The research methods comprised of three steps as follows:  1) studying the existing approaches of conflict management in secondary schools by analyzing documents and interviewing 12 secondary school administrators and 9 experts 2) creating a model of conflict management in secondary schools by the discussing the proposed model  in order to check and discover  the appropriate  model  3) evaluating  feasibility and usefulness on the model by questionnaire  from 350 secondary school administrators. 


                The research  indicated that an effective model of conflict management must be comprised of three main components: 1) nine important skills conflict management which include : situational analysis, negotiation, neutral and charismatic creation, the use of power, listening and feedback, systematic and holistic thinking, confrontation, emotional control, and positively relative creation
2) the problem-solving process which includes six steps : problem identification, study of problem causation, alternative identification, alternative decision making, planning and doing, monitoring and evaluation  3) outcomes which include four sub-components : schools , school administrators, staffs and students. The evaluation of a model development of conflict resolution in the secondary schools by problem solving methods found a high degree of feasibility and usefulness.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

อมร อ่อนสี, The Far Eastern Universityมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทร์น

ชื่อ – ชื่อสกุล

อมร   อ่อนสี

วัน  เดือน  ปี เกิด

8  กันยายน  2503

ที่อยู่ปัจจุบัน

23/82  ถนน  ธรรมบูชา  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก  65000

ที่ทำงานปัจจุบัน

โรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา ตำบลวัดโบสถ์  อำเภอวัดโบสถ์

จังหวัดพิษณุโลก

ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน

ผู้อำนวยการสถานศึกษา  โรงเรียนวัดโบสถ์ศึกษา ตำบลวัดโบสถ์ 
อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

References

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี.(2550),การจัดการคสามขัดแย้งในองค์กร,กรุงเทพฯ:ออฟเช็คชั่น,

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ.

บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา กรุงเทพฯ. เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.

มูลนิธิพระดาบส.(2554).คำสอนพ่อ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์กรุงเทพ

วันชัย วัฒนศัพท์ และรัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์. (2552). การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด.

วิเชียร วิทยอุดม. (2555). การบริหารความขัดแย้งในองค์การ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.

สุนันทา เลาหนันท์. (2549). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ:แฮนด์เมดสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.

สุพัตรา จิตตเสถียร. (2553). การพัฒนาองค์การ: จากแนวคิดสู่เทคนิคการปฏิบัติ. พิษณุโลก: โฟกัสมาสเตอร์ ปริ้นท์.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2534). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ตะเกียง.

สมชาติ กิจยรรยง. (2555). ศาสตร์และศิลปะของผู้นำ : ที่ครองใจทุกคน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Smart Life บริษัท เพชรประกาย จำกัด.

อรุณ รักธรรม. (2527). การบริหารความขัดแย้งในองค์กร. เอกสารประกอบการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ อันดับที่ 46. (3)

อารีรัสมิ์ วัฒนทองผิว. (2553). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษา

ของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำ

ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.