พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อ วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ณัฐพล เนียมแก้ว

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาชมวัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาชมวัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2559 จำนวน  400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยววัดเฉลิมพระเกียรติ พระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ ด้านแหล่งท่องเที่ยวและสภาพแวดล้อม ด้านราคาสินค้าและบริการ ด้านการคมนาคม ด้านการบริการ และด้านความปลอดภัย โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และการหาค่าเฉลี่ย (Mean) มาใช้ในการวิเคราะห์  

   ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อวัดเฉลิมพระเกียรติ พระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง   พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีสถานภาพสมรส มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ศึกษาอยู่ระดับระดับปริญญาตรี ส่วนข้อมูลพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่าส่วนใหญ่มีรูปแบบการเดินทาง มากับครอบครัว ลักษณะการมาเที่ยว จะมาทำบุญ พาหนะที่ใช้ รถยนต์ พักบ้านพักส่วนตัว มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 500 บาท ต่อครั้ง มาไม่เกิน 1ครั้ง ต่อ ปี และในส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อวัดเฉลิมพระเกียรติ

 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ณัฐพล เนียมแก้ว, The Far Eastern University มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว

ตำแหน่ง: อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยว

วุฒิการศึกษา:      

ปริญญาโท ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 2556, ประเทศไทย

ปริญญาตรี ศศ.บ.(อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์,2552,ประเทศไทย

References

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. (2557). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ.(2559). 25-50.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทวีลาภ รัตนราช. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยว เชิงสัมผัสวัฒนธรรมในรูปแบบโฮมสเตย์ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร . กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปวีณา ทวีวงศ์โอฬาร.(2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา .กรุงเทพ : มหาวิทยาลยกรุงเทพ.

ผู้จัดการออนไลน์ (2557). "วัดพระพุทธบาทปู่ผาแดง" ลำปาง...อันซีนบนยอดเขา มหัศจรรย์แห่งศรัทธา. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2559, จาก http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx

?NewsID=9570000129519

พชรดา มงคงนวคุณ. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดน้ำตลิ่งชัน . กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยสยาม.

วรรณสิริ โมรากุลม. (2559).ท่องเที่ยวไทยปี 58 ทำสถิติใหม่ โกยรายได้ทะลุเป้า2.23ล้านล้าน. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก http://www.thansettakij.com/2016/01/08/25115

วิธาน จีนาภักดิ์. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Cochran, William.G.(1997) Sampling Technigues. New York : John Wiley and Sons.