การจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

Main Article Content

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร
นิศรา จันทร์เจริญสุข

Abstract

การทำบัญชีครัวเรือนอย่างมีส่วนร่วมของชาวชุมชน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อแนวทางการพัฒนาชุมชนและ ครัวเรือน เพื่อนำไปสู่ความพอเพียง ซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องรู้จักประมาณตนเอง มีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ ในการดำรงชีวิต ซึ่งการวางแผนที่ดีนั้นจำเป็นจะต้องมีการจดบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายที่ถูกต้อง มีการเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับการรับและการจ่ายของครัวเรือน เพื่อจัดทำเป็นบัญชีครัวเรือนอย่างมีส่วนร่วม โดยนำข้อมูลที่ได้มา พิจารณาหาวิธีการเพิ่มรายรับและตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดความพอดี หากมีส่วนที่เหลือก็ให้เก็บออมไว้เพื่อ ใช้ในอนาคต ซึ่งข้อมูลที่ได้รับในภาพรวมจากบัญชีครัวเรือนอย่างมีส่วนร่วมของชาวชุมชน จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชน เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยบทความนี้ได้อธิบายถึงวิธีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่าง มีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน ว่าส่วนใดที่ควรถือเป็นรายรับหรือรายจ่าย ส่วนใดที่ควรถือว่า เป็นหนี้สิน รวมทั้งวิธีการจดบันทึกที่เป็นระบบถูกต้องพร้อมทั้งยกตัวอย่างอธิบายวิธีการจัดทำอย่างมีส่วนร่วม โดย สร้างรูปแบบบัญชีครัวเรือนอย่างมีส่วนร่วมที่เหมาะสมต่อชาวชุมชน เพื่อให้เข้าใจได้และสะดวกในการจัดทำที่ดีขึ้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้สามารถทราบถึงสถานการณ์การใช้จ่ายของครัวเรือนตนเอง

 

The participation of the community member in household accounting is very important to the guideline of the household and community development which also lead to sufficiency. The members need to know about themselves and make a discreet expenses plan for their living. The good planning is necessary to have an accurate data input which are collected about the income and expenses of the household to develop to participating household accounting. The acquired data is considered to find out how to balance the account by increase income and the expenses. If there is the amount left, the rest of this amount will keep as a saving for the future. The information received from the household accounting as part of the community will lead to many ways of development to achieve the integration and strengthen the community. Therefore, this paper explains how to provide participating household accounting for the family and community sustainable development by shows sections that are considered as income, expenses or debt. This paper also includes the correct way to take notes as well as gives example on participatory by creating suitable participatory household accounting pattern for the community members in order to easy to understand and prepare. All this information makes it possible to know the situation of their household expenses and be able to plan to achieve sustainable community development.

Article Details

Section
Academic Articles