การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตำนานโบราณสถานวัดเวียงเศรษฐี (ร้าง) ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเรื่องราว ตำนาน เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ตำนานโบราณสถาน วัดเวียงเศรษฐีตามความเชื่อและการรับรู้ของคนในชุมชน และเพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชน วิธีการวิจัยเป็นแบบคุณภาพโดยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของชุมชนที่ได้จากกระบวนการ รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีประชุม การสังเกต และการสำรวจตามหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ตำนานโบราณสถานวัดเวียงเศรษฐี (ร้าง) โดยใช้วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยการนำข้อมูลที่ได้รับมา สังเคราะห์เปรียบเทียบ และจำแนกความสัมพันธ์ และนำมาเรียบเรียงข้อมูลเป็นตำนานตามความเชื่อและการรับรู้ ของชุมชน โดยการทดสอบ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ทบทวนความรู้ความเข้าใจของชุมชนและแนวทางใน การจัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จากการจัดเวทีประชุมและกิจกรรมกลุ่มของชุมชน เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นตามข้อมูลจากตำนานและเรื่องราวของชุมชน อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และเสนอแนวทางเลือกของกิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ของตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

 

This research aimed to collect stories about the legend of the legendary ancient temple of Wiang Setthi, Nongfaek Sub-District, Sarapee District, history as perceived by the faith of the people in the community and to learn ways to be involved in community tourism development.

This research method is qualitative research, to analyze data from the general community from the interview, focus group discussion, observation and exploring the temple of Wiang Setthi. Information processing with comparative data has been synthesized and identified the relationship. And the data compiled by the mythical beliefs and perceptions of the community by testing the validity of data and review of knowledge and understanding of the community in the official history books and also the meetings and activities of the community. The accuracy of information from the legends and stories of the community will lead the development of historical tourism and offer the alternative tourism activities in Nongfaek Sub-District, Sarapee District, Chiang Mai Province.

Article Details

Section
Research Articles