Carbon Footprint ฉลากสินค้าเทรนด์ใหม่ที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม

Main Article Content

รัตติกาล กองบุญ

Abstract

จากปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน  ทำให้ประเทศต่างๆ  หันมาร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต  ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม  รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค  การลดก๊าซเรือนกระจกในส่วนของผู้บริโภคที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตคือ  การเลือกซื้อสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย  ผู้บริโภคจำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ  ซึ่งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดก๊าซเรือนกระจก

สำหรับประเทศไทยได้มีการกำหนดฉลากคาร์บอน  (Carbon  Footprint)  แบ่งออกเป็น  5 ระดับ  ซึ่งในแต่ละระดับแสดงถึงสินค้าที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่แตกต่างกันไป  หากสินค้าใดได้เบอร์  5  หมายความว่าสินค้านั้นอยู่ในกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศน้อยที่สุดและเป็นสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันในต่างประเทศพยายามผลักดันให้คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นมาตรฐานสากล  ISO  14067  ซึ่งคาดการณ์ว่าอีก  2 ปีข้างหน้าจะมีการบังคับมาตรฐานนี้อย่างจริงจังเพื่อเป็นการผลักดันให้ผู้ผลิตลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์  และผลักดันให้สินค้าติดฉลากคาร์บอนเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการของไทยควรต้องหันมาใส่ใจและเตรียมรับมือกับมาตรการดังกล่าวเพื่อลดการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ

Article Details

Section
Academic Articles