การประเมินโครงการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น ของโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พรทิพย์ ถาอ้าย
มานูนณย์ สุตีคา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่  โดยใช้กรอบแนวคิดตามรูปแบบซิปป์ โมเดล (ClPP  Model) ของ แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน  คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง  จำนวน 22 คน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 30 คน  ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 35 คน  นักเรียน จำนวน 50 คน  รวมทั้งสิ้น 152 คน  และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 1 คน  คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง  จำนวน 1 คน  ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน  จำนวน 2 คน  ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 2 คน  รวมทั้งสิ้น 6 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา    ผลการวิจัยพบว่า การประเมินโครงการการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของโรงเรียน บ้านแม่งอนขี้เหล็ก โดยมุ่งประเมิน 4 ด้าน 1) ด้านสภาวะแวดล้อมหรือบริบททั่วไปของโครงการ พบว่า รายการที่มีการปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการและการจัดทำแผนดำเนินงานโครงการ ส่วนรายการที่เห็นว่าไม่ได้ปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด คือ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีการตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า รายการที่มีการปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด จำนวน 2 รายการ คือ จัดตั้งงบประมาณสนับสนุนโครงการจากหน่วยงานต้นสังกัด และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความพร้อมเหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น ส่วนรายการที่ไม่ได้ปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด คือ โรงเรียนจัดทำหลักสูตรที่ทันสมัยเหมาะสมตามบริบทท้องถิ่น 3) ด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า รายการที่มีการปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด คือ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการแก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนรายการที่ไม่ได้ปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด คือ เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนในหลักสูตรการฝึกอบรมทักษะอาชีพ และ 4) ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า รายการที่มีการปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด คือ ผู้เรียนได้แสดงความพึงพอใจในการเรียนในรายวิชาเพิ่มเติมหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนรายการที่ไม่ได้ปฏิบัติโดยมีร้อยละสูงสุด คือ จัดกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนในโครงการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร            

This research aimed to evaluate the project of school based management for local development of Maengonkilek School, Fang District, Chiang Mai Province by using the conceptual framework according to Daniel L. Stufflebeam’s CIPP Model.  The data were collected population from through questionnaires 15 basic education commissions, 22 network parents committee, 30 teachers and school educational staff, 35 student’s parents and 50 students.  There were totally 152 people.  In addition, the data were collected through unstructured interviews from people who provided important information including 1 person of basic education commissions, 2 people of network parents committee, 2 people of teachers and school educational staff and 2 people of student’s parents.  There were totally 6 people.  The data were analyzed through frequency, percentage and a content analysis. The findings were as follows: The project evaluation of school based management for local development of Maengonkilek School focused on assessing 4 aspects. 1) The environment or general context of the project revealing the list with the highest percentage of performance was to set the project objectives and to make the project action plan whereas the item with the highest percentage of non-performance was that all parties who concerned verified the project operation. 2) The input factors of the project showing 2 lists with the highest percentage of performance were to set up a budget supporting the project from the agency and to develop learning sources being available and appropriate for children, young people and local residents while the list with the highest percentage of non-performance was that the school prepared up-to-date curriculum being appropriate for the local context.  3) The process of the project indicating the list with the highest percentage of performance was to organize trainings about the project for the basic education commissions as the list with the highest percentage of non-performance was that the children, young people and local residents took some courses of vocational skills training curriculum.  4) The output of the project showing the list with the highest percentage of performance was that students expressed their satisfaction with additional subjects or student developing activities whereas the list with the highest percentage of non-performance was to arrange activities helping the students in the project have required characteristics according to the curriculum. 

Article Details

Section
Research Articles