การจัดการบริบทชุมชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต ผ่านเครื่องมือการศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

Main Article Content

นุชจรี ศรีอุปโย

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต  พื้นที่วิจัยได้แก่ บ้านป่าเก็ตถี่ หมู่ที่ 7 ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลมี          2 กลุ่มๆ ที่ 1 คือ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อาวุโส ผู้นำกลุ่ม จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่าง        มีส่วนร่วม  สนทนากลุ่มและจัดทำเวทีชุมชน กลุ่มที่ 2 ปราชญ์ชุมชน กลุ่มเกษตรกรและชุมชน จำนวน        17 คน ผู้วิจัยจัดเก็บข้อมูลแบบผสมผสานโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดทำเวทีชุมชนเพื่อสอบถามบริบทของชุมชนโดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. เส้นทางประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นการแสดงประวัติความเป็นมาของชุมชนมีความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจเนื่องจากระบบสาธารณูปโภคที่เข้าถึงสิ่งที่ขาดคือตลาดของหมู่บ้านและห้างร้านค้าใหญ่

2. ปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตร แสดงแผนการผลิตด้านการเกษตรของชุมชนพบว่ามีการประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลักมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการที่นายทุนเข้ามาในชุมชนเกิดหมู่บ้านจัดสรรและการขายที่ดินทำกิน

3. แผนที่เดินดิน แสดงทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชนโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านที่ค้นพบคือปราชญ์ชุมชน จำนวน 17 คนและสถานที่สำคัญ 7 แห่งมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิตของชุมชนด้วย

4.โอ่งชีวิต  เป็นการศึกษารายรับและรายจ่ายของชุมชนพบว่ามีรายจ่ายมากกว่ารายรับวัยรุ่นและวัยทำงานออกนอกบ้านขาดการมีส่วนร่วมในชุมชนขาดผู้สืบทอดด้านวัฒนธรรมเป็นต้น

Article Details

Section
Research Articles

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ.(2557). โลกแห่งสังคมเมือง Urban World.สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2559,จาก http://www.kriengsak.com

สุกัญญา ดวงอุปมาและคณะ.(2558). การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ดลฤดี จันทร์แก้วและวิรินดา สุทธิพรม.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย.อุบลราชธานี.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมบูรณ์ ธรรมลังกา.(2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย.วารสารศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุกัญญา ดวงอุปมา และภัทรพร ภาระนาค.(2556).การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต.กันยายน-ธันวาคม 2556.

กุลชลี พวงเพ็ชร์ และคณะ.(2555).การจัดการและการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี.มหาวิทยาลัยเกริก.