A Study on the Current Situation, Problems and Needs Assessment for Supervision to Promote Research Competencies of Vocational Education Teachers

Main Article Content

สุดสาย ศรีศักดา
สุนีย์ เงินยวง
เกียรติสุดา ศรีสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์สมรรถนะด้านการวิจัยของครูอาชีวศึกษา  เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการนิเทศส่งเสริมสมรรถนะด้านการวิจัยของครูอาชีวศึกษา การสังเคราะห์สมรรถนะด้านการวิจัยจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และบทความที่เกี่ยวข้อง จำนวน 39  เรื่อง โดยใช้กรอบแนวคิดการวิเคราะห์หน้าที่งาน (Functional Analysis) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือครูผู้สอน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 1,222 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น Modified Priority Need Index (PNImodified) และค่าความแปรปรวน ใช้ Analysis of Variance : ANOVA (F)


ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะด้านการวิจัยของครูอาชีวศึกษามีทั้งหมด 5 ด้าน 19 สมรรถนะหลัก และ 76 สมรรถนะย่อย  ได้แก่สมรรถนะประจำสายงาน (Specific Functional Competence) จำนวน  2 ด้าน คือ1) ด้านสาขาวิชาที่ทำวิจัย และ2) ด้านระเบียบวิธีวิจัย สมรรถนะพื้นฐาน (Common Functional Competence) จำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ 2)ด้านการใช้ภาษา และ 3) ด้านการบริหารจัดการ ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการจำเป็น พบว่าสมรรถนะที่มี


ความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านระเบียบวิธีวิจัย รองลงมาคือด้านการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านการใช้ภาษา ด้านการบริหารจัดการ และด้านสาขาวิชาที่ทำวิจัย ตามลำดับ (PNImodified  = 0.45, 0.16, 0.09, 0.08, 0.02) ผลของการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำแนกตามประเภทสถานศึกษา คือวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี พบว่าครูอาชีวศึกษามีสมรรถนะด้านการวิจัยที่เป็นจริงในปัจจุบันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (F=.40 ) แต่มีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (F=9.91)

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

สุดสาย ศรีศักดา, สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ  สังกัดศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกาษาธิการ

สุนีย์ เงินยวง, สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เกียรติสุดา ศรีสุข, สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์ประจำ สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิคณะบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทยาลัยเชียงใหม่

References

กัญญา กำศิริพิมาน และหวน พินธุพันธ์. (มปป.). การวิจัยอาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2554 จาก www.202.143.172.202 /napatsawan/ing/all

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3, เชียงใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถาวร เส้งเอียดและคณะ. (2554). สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม. ใน สิทธิผล อาจอินทร์ (บรรณาธิการ). วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3-4 กรกฎาคม – ธันวาคม 2554 (หน้า 108 – 116). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ไพฑูรย์ สินลาพันธ์,บรรณาธิการ. (2555).เพื่อความเป็นเลิศของครุศึกษาไทย. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มงคลชัย สมอุดร. (2556). การปรับปรุงการเขียนหัวข้อเสนอโครงการวิจัยสายอาชีวศึกษา.เอกสารสรุปการบรรยายพิเศษในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการปรับปรุงการเขียนหัวข้อเสนอโครงการวิจัยสายอาชีวศึกษา.” วันที่ 5 กันยายน 2556 ณ โรงแรมทาวน์อินทาวน์. กรุงเทพฯ

มนูญ อรุณไพโรจน์. (2550). “หน่วยที่ 1 พื้นฐานของการนิเทศการสอน” ประมวลสาระชุดวิชาการนิเทศการสอนระดับประถมศึกษา. นนทบุรี. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมมาธิราช.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). การนิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 8 นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีระพันธ์ พูลพัฒน์. (2548). เอกสารการสอนหลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาด้านการวิจัยของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในเขตภาคเหนือ. เชียงใหม่. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือ.

สันติ บุญภิรมย์. (2553). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ บุคพอยท์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2559). กลยุทธ์การเสริมพลังอำนาจครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 10(2), 84 – 96

สุวิมล ว่องวานิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์สู่การปฏิรูปของสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา นโยบาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในระยะ 5 ปี (พ.ศ.2555 – 2559). กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ. (2552). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎี บัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. นครราชสีมา.

อัญชลี โพธิ์ทอง. (2549). นิเทศการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุไรวรรณ หาญวงค์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 8(1), 104-120

Certo, Samuelc. (2000). Supervision : Concept and Skill Building. 3rd ed. Mcgraw_Hill Higher Education.

Glickman, Carl D. (1990). Supervision and Instruction: A Devevelopment . Approach. 2nd ed. Massachusetts: Allyn and Bacon, Inc,.