Economic Development based on Philosophy of Sufficiency Economy

Main Article Content

warayut palasri

Abstract

บทคัดย่อ


ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมือนหรือแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร และการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งเป็นข้อสงสัยของคนทั่วไปหรือแม้แต่นักวิชาการด้วยกัน ทั้งนี้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มีเหตุผลทางวิชาการรองรับ และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก โดยทั้งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐศาสตร์กระแสหลักต่างมีแนวคิดตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่ามนุษย์มีความต้องการอย่างไม่สิ้นสุดขณะที่ทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด และทั้งสองทฤษฎีต่างก็ดำเนินเศรษฐกิจเพื่อบรรลุสิ่งเดียวกันคือประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ทรัพยากร แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือเป้าหมายและวิธีการนำไปสู่เป้าหมาย กล่าวคือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายนอกจากเรื่องของเศรษฐกิจแล้วยังเชื่อมโยงกับมิติในด้านความสุขที่ได้จากครอบครัว สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้หลักความพอเพียงในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะเน้นเป้าหมายเพียงที่วัตถุอย่างเดียวด้วยการเพิ่มผลผลิตของประเทศ

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

warayut palasri, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

References

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2554). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรายุทธ พลาศรี. (2559). เศรษฐศาสตร์มหภาค 2. มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ดอกเบี้ย.
อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.