กลวิธีการประพันธ์นวนิยายเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ ของ “นิพพานฯ”

Main Article Content

สุธาสินี พ่วงพลับ

Abstract

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับกลวิธีการประพันธ์นวนิยายเรื่อง ผีเสื้อและดอกไม้ ของ “นิพพานฯ” โดยพิจารณาจากองค์ประกอบของนวนิยาย 5 ประการ คือ (1) ผู้แต่งได้นำสภาพแวดล้อมและจินตนาการมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการแต่ง (2) มีตัวละครเอกเป็นตัวดำเนินเรื่อง (3) ฉากมีความสมจริงและสัมพันธ์กับตัวละคร (4) แก่นเรื่องเน้นการดำเนินชีวิตและปัญหาของคนยากจน  (5) ลีลาการเขียนและท่าทีของผู้แต่งนั้น ผู้แต่งใช้ถ้อยคำที่เรียบง่าย ใช้ภาพพจน์ที่โดดเด่นด้านการใช้ความเปรียบโดยนำประสบการณ์ในอดีตของตัวละครมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ส่วนกลวิธีการดำเนินเรื่อง ผู้แต่งได้ใช้มุมมองแบบสายตาพระเจ้าด้วยการสร้างโครงเรื่องที่เริ่มจากการสร้างปมปัญหา คลี่คลาย แล้วปิดเรื่องอย่างรวดเร็ว สำหรับการนำเสนอเรื่อง ผู้แต่งใช้วิธีการลำดับเนื้อเรื่องตามปฏิทินโดยบรรยายและพรรณนาเฉพาะเหตุการณ์สำคัญ ใช้บทสนทนาแนะนำตัวละครและเชื่อมโยงการดำเนินเรื่อง อีกทั้งใช้วิธีเลียนแบบกระแสความคิดของมนุษย์ในการบรรยายภาพต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้แต่งได้กระตุ้นให้ผู้อ่านตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตที่อยู่ในภาวะปัญหาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความยากจนและการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคม

 

This paper presents the novel writing techniques on Pheesua Lae Dokmai composed by “Nipphan”. These were achieved by using 5 novel elements: the author uses surroundings and imagination to be important raw materials for composing the novel; the protagonist continues the story; settings are realistic and related to the characters; the theme emphasizes the way of life and problems of the poor. As for the writing style and attitudes of the author, he uses colloquial words and outstanding figures of speech like metaphor to compare the experience of characters with current events. The omniscient point of view was in the continuity technique. The plot structure was created by making a crux then resolves and ends it abruptly. In presentation techniques, the author uses the storyline pattern by narration and description of only important events. The author uses dialogues to present the characters and relates to the story. The styles of imitation of human thought in the narration are also used. At the same time, the author still stimulates readers to realize the values of life among social problems; especially poverty and education that relate to the state of society.

Article Details

Section
Academic Articles