แนวทางพัฒนาการจัดการข้ามวัฒนธรรมทางธุรกิจ ต่อสถานภาพผู้ประกอบการไทยในวัฒนธรรมลาว: หลวงน้ำทา

Main Article Content

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร
ภาคภูมิ ภัควิภาส
สุธีมนต์ ทรงศิริโรจน์
สาลินี ชัยวัฒนพร

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในลาวในบริบทสังคมวัฒนธรรมลาวและแนวทางการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับการจัดการข้ามวัฒนธรรมของธุรกิจไทยในลาว ประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการชาวไทยที่ดำเนินธุรกิจในสาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ยินดีให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานข้ามวัฒนธรรมธุรกิจของผู้ประกอบการ โดยไม่ใช้ความน่าจะเป็นในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 20 คน พบว่า การจัดการข้ามวัฒนธรรมทางธุรกิจในมิติวัฒนธรรมของ Geert Hofstede ทั้ง 5 ลักษณะ ได้แก่ มิติความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ มิติความเป็นปัจเจกนิยม มิติลักษณะความเป็นชายหญิง มิติการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน และมิติการมุ่งเน้นเป้าหมายระยะยาว และการจัดการข้ามวัฒนธรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  ( = 2.76, SD.= 0.69)  การพัฒนาแนวทางการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับการจัดการข้ามวัฒนธรรม
ของธุรกิจไทยในลาวเพื่อให้ธุรกิจขยายตัวและยั่งยืนควรมุ่งเน้น ได้แก่ 1) ด้านความสามารถในการ
พูดภาษาลาว 2) ด้านทัศนคติต่อวัฒนธรรม 3) ด้านการส่งเสริมการค้าในต่างประเทศของภาครัฐและเอกชน และ 4) ด้านการร่วมกิจกรรมการกุศล

This research aims to understand the business culture of Thai entrepreneur in the context of the Culture of Laos and to get the appropriate development guideline model for cross-cultural management of Thai business in Laos. The population and samples are the Thai entrepreneurs who operate their business in the Lao People’s Democratic Republic and appreciate to share their information about the cross-cultural management in their businesses.  The Nonprobability sampling and Purposive sampling techniques are used with 20 samples. The results show that the 5 Cultural Dimensions of Geert Hofstede which include Power Distance Index, Individualism vs. Collectivism, Masculinity vs. Femininity, Uncertainty Avoidance Index, and Long-term Orientation are at a low level in overall ( = 2.76, SD.
= 0.69).The appropriate model development guideline for cross-cultural management of Thai business in Laos should focus on; 1) the ability to speak Lao language, 2) the attitude toward cultural difference, 3) the promotion of foreign trade in both the public and private sector, and 4) get involved with charity.         

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

สังกัดคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์   สาขา บริหารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ  เชียงใหม่

128 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300