การบริหารจัดการความหลากหลายขององค์กร ตามช่วงวัยที่ต่างกัน

Main Article Content

นพดล เดชประเสริฐ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคาดหวังของรูปแบบการบริหาร ตามความหลากหลายของพฤติกรรมในองค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จำนวน 400 ชุด ตามช่วงวัยที่ต่างกัน คือ Gen Y (นิยามว่าอายุ 20-19), Gen X (นิยามว่าอายุ 30-39), Gen BB (นิยามว่าอายุ 40-49) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเชิงปริมาณ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการทดสอบสถิติ ANOVA วิเคราะห์ความแตกต่างของประชากร และ ทดสอบความมีอิทธิพลของตัวแปรของการบริหารองค์กรด้วย สถิติ Regression analysis


ผลการวิจัยพบว่า จริยธรรมในการปฏิบัติงานในองค์กรของพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ใส่ใจเรื่องรูปแบบจริยธรรมในการปฏิบัติงานในองค์กร องค์กรควรมีการกำหนดแบบแผนมาตรฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ควรมีการจัดอบรมหลักจริยธรรมในการทำงาน ควรมีการสนับสนุนบรรยากาศและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมหลักจริยธรรมในองค์กร ส่วนความคาดหวังกับรางวัล-ความคาดหวังงานและชีวิตครอบครัว พนักงานต้องการ การรับฟังความต้องการในการพัฒนาสายงานของบุคลากร ให้มีแบบการสื่อสารเรื่องนโยบาย และแนวปฏิบัติ ทั่วถึงทั้งองค์กร รวมถึงมีการรับข้อมูลใหม่ หรือแนวคิดใหม่ ๆ จากบุคลากร รูปแบบการจัดการความหลากหลายในองค์กรของพนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ องค์กรมีสื่อต่าง ๆ ภายในองค์กร เช่น การแจ้ง email, ประกาศที่บอร์ด เพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์กรมีการยอมรับในความแตกต่างในที่ทำงานทั้งเรื่อง เพศ อายุ ศาสนา เชื้อชาติ เป็นต้น รองลงมา องค์กรมีเครือข่ายที่กว้างขวางในการดึงดูดผู้สมัครงานที่หลากหลาย มีวิธีการคิดและสื่อสารที่หลากหลาย และทุกคนได้รับการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็น มีความหลากหลายปรากฏให้เห็นในทุกระดับขององค์กร มีสภาพแวดล้อมการทำงานมีความเป็นมิตรและให้การต้อนรับทุกคน รวมทั้งพนักงานใหม่ มีการแลกเปลี่ยนความคิดและการใช้ทรัพยากรระหว่างพนักงานจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง และน้อยที่สุด องค์กรมีสื่อต่าง ๆ สู่ภายนอกองค์กร เช่นข้อความการรับพนักงานบนเว็บไซต์ของบริษัทที่สะท้อนให้เห็นว่า องค์กรมีการยอมรับความแตกต่างในที่ทำงานทั้งเรื่อง เพศ อายุ ศาสนา เชื้อชาติ เป็นต้น

Article Details

How to Cite
เดชประเสริฐ น. (2019). การบริหารจัดการความหลากหลายขององค์กร ตามช่วงวัยที่ต่างกัน. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 13(2), 121–134. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/165156
Section
บทความวิจัย