การสื่อสารความรู้เรื่องการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 แก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp)

Main Article Content

สุภาพร หมั่นหาทรัพย์

Abstract

บทคัดย่อ

 

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารที่มีผลต่อการเกิดความรู้เรื่องการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB camp) รวมถึงการนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในระดับตนเองและชุมชน ทั้งยังศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะทางประชากรที่มีผลต่อความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงความสัมพันธ์ของความรู้กับการนำไปประยุกต์ใช้ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจ (Survey research) เก็บรวบรวมข้อมูลการใช้แบบสอบถามจากเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB camp) จำนวน 355 ชุด โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random) เนื่องจากลุ่มตัวอย่างมีคุณลักษณะทางประชากรที่ใกล้เคียงกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน ด้วยค่าค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

                ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่สายวิชานิติศาสตร์และสายสังคมศาสตร์ บิดา/มารดา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนจำนวน 35,000-45,000 บาท กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยมากที่สุดกับองค์ประกอบทางการสื่อสารที่ใช้ในการถ่ายทอfความรู้เรียงตามลำดับคือ 1) เนื้อหาของสาร 2) ช่องทางการสื่อสาร 3) ผู้ส่งสาร 4) ผู้รับสาร และเห็นด้วยมากที่สุดกับการใช้รูปแบบการสื่อสารแบบไม่เป็นทาง ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการประยุกต์ใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองอยู่ในระดับมาก และมีการนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนในระดับปานกลาง

                ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เยาวชนที่มีลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันจะมีความรู้เรื่องการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแตกต่างกัน และส่งผลต่อการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แตกต่างกันอีกด้วย โดยเฉพาะตัวแปรด้านเพศ ศาสนา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว และพบว่าการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่เป็นความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม เนื่องจากองค์ประกอบทางการสื่อสารด้านเนื้อหาของสาร และช่องทางการสื่อสาร อาจไม่เหมาะสมที่จะใช้ถ่ายทอดความรู้ และพบว่า ความรู้ยังมีความสัมพันธ์กับการนำไปประยุกต์ใช้โดยเป็นความสัมพันธ์ในเชิงบวก คือ ยิ่งเยาวชนมีความรู้มากยิ่งมีแนวโน้มที่จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากเช่นกัน

 

ABSTRACT

 

                This research aims to observe the communication that would bring about the learning on the development according to the royal initiatives and the working principles of His Majesty King Bhumibol Adulyadej as well as the application of the knowledge gained at the individual and community level. This research also studies the relationship between the demographical characteristics and knowledge gained and its application, as well as between knowledge gained and its application. This research is a quantitative research. The data was collected through surveying using 355 questionnaires. The method of sampling is simple random as the sample group has not much demographic differences. The statistics used in data analysis are frequency distribution, mean, percentage, standard deviation and inferential statistics in order to test the hypotheses with the statistical level of significance at 0.05.

                It was found from the research that most of the samples are female, bachelor students in the fields of laws and social sciences. Most of their parents are freelancers with average income of 35,000 – 45,000 baht. The samples have knowledge on the development according to the royal initiatives and the working principles of His Majesty King Bhumibol Adulyadej at the highest level. The samples agree with the communicating components in the information dissemination from the most to the least as follows: 1) contents 2) communication channels 3) messengers. They agree the most with the unofficial pattern of communication. It was also found that the samples apply the knowledge for their own benefits at the highest level and for the community at the moderate level.

                According to the hypotheses test, it was found that the youth with different demographic characteristics has different knowledge on the development according to the royal Initiatives and the working principles of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, resulting in the different application of knowledge. The variables are especially gender, religion and average family’s income. It was also found that communication has the relationship with knowledge on the development according to the royal initiatives and the working principles of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, but in the different direction due to the inappropriate components of communication such as contents and communication channels. Also, knowledge is related positively to its application: the more the youth has knowledge, the higher tendency that the knowledge is applied to yield benefits.

Article Details

How to Cite
หมั่นหาทรัพย์ ส. (2018). การสื่อสารความรู้เรื่องการพัฒนาตามแนวพระราชดำริและหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 แก่เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ (RDPB Camp). Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 12(1), 103–128. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/94098
Section
บทความวิจัย