นโยบายการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ภาคตะวันออกประเทศไทย

Main Article Content

พชระ แซ่โง้ว
บรรพต วิรุณราช

Abstract

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ที่เหมาะสมในการพิจารณานำหุ่นยนต์มาแทนที่แรงงานในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้วิจัยแบบเชิงคุณภาพเทคนิคการวิจัย เชิงอนาคตแบบ EDFR กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการหุ่นยนต์ ด้านผู้ใช้งานหุ่นยนต์ ผู้พัฒนาระบบการใช้หุ่นยนต์ และภาครัฐ รวมจำนวนผู้เชี่ยวชาญ 30 คน ยืนยันผลด้วยและการสนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ผลจากการศึกษา พบว่า มี 3 เกณฑ์หลัก 1) เกณฑ์คุณลักษณะ ประกอบด้วย ค่าตอบแทนแรงงาน การแข่งขันทางธุรกิจ การขาดแคลนแรงงาน ธรรมมาภิบาล/ จริยธรรม การศึกษาของแรงงาน เทคโนโลยีการผลิต การเพิ่มผลผลิต ความแม่นยำ ความปลอดภัย ทักษะของแรงงาน ต้นทุนการผลิต คุณภาพสินค้า ผลตอบแทนการลงทุน หุ่นยนต์มือสองจากต่างประเทศ ความทนทานในการใช้งาน หุ่นยนต์ที่ผลิตในประเทศ 2) เกณฑ์การใช้งาน (กิจกรรม) ประกอบด้วย การป้อนวัสดุเข้า-ออกจากเครื่องจักร การลำเลียงวัสดุ การเชื่อม การประกอบ การปรับแต่งขนาด การพ่นสี การตรวจสอบคุณภาพและการบรรจุภัณฑ์ และ 3) เกณฑ์อัตราการทดแทนแรงงาน ประกอบด้วยการป้อนวัสดุเข้า-ออกจากเครื่องจักร หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 1 คนขึ้นไป

การลำเลียงวัสดุ การเชื่อม การประกอบ การปรับแต่งขนาดหุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 2-3 คนขึ้นไป การพ่นสี การตรวจสอบคุณภาพ หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 3 คนขึ้นไป และการบรรจุภัณฑ์หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 1 คนขึ้นไป

Article Details

How to Cite
แซ่โง้ว พ., & วิรุณราช บ. (2018). นโยบายการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ภาคตะวันออกประเทศไทย. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 12(1), 129–143. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/94102
Section
บทความวิจัย