การส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญา กรณีบ้านไผ่ หมู่ที่ 5 ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สุชีรา ธนาวุฒิ
สุธิรา เจริญ

Abstract

การส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา: กรณีบ้านไผ่  หมู่ 5 ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เผยแพร่องค์ความรู้ และข้อมูลในการทำข้าวหลาม 2) เพื่อเสริมสร้าง และออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 3) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษา ตลอดจนสามารถนำไปประกอบอาชีพให้แก่เยาวชนและผู้สนใจ  การวิจัยในครั้งนี้มีฐานแนวความคิดอยู่ที่กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research : PAR)  เพื่อสร้างองค์ความรู้  รวมถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของสมาชิกเกษตรกรผู้แปรรูปข้าว โดยเน้นกระบวนการถ่ายโอนความรู้ และการมีส่วนร่วมของสมาชิกเกษตรกรผู้แปรรูปข้าวในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ร่วมกัน ผลการวิจัย พบว่า ด้านความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระบวนการจัดการความรู้และเงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดการความรู้ ผลการศึกษาพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม)เกี่ยวข้องกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อมาจากบรรพบุรุษ จนกลายเป็นองค์ความรู้ประจำท้องถิ่นที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและการวิถีการดำเนินชีวิต 2) กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) ประกอบไปด้วย (1) การคิดและตัดสินใจร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม (2) การแสวงหาความรู้ที่มาจากภายในและภายนอกกลุ่มเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ (3) การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกมีความรู้และทักษะในการผลิตมากขึ้น (4) การจัดเก็บความรู้ในตัวบุคคล และ (5) การถ่ายทอดความรู้ ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยกระบวนการจัดการความรู้มีลักษณะเป็นวงจรเมื่อถ่ายทอดความรู้แล้ว สามารถย้อนกลับไปกำหนดความรู้ในรูปแบบอื่น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง 3) เงื่อนไขที่ทำให้การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) ประสบความสำเร็จ มี 4 เงื่อนไขที่สำคัญได้แก่ (1) ภาวะผู้นำ (2) วัฒนธรรม (3) โครงสร้างพื้นฐาน (4) การจัดการความรู้ รวมถึงข้อค้นพบที่สำคัญของงานวิจัย คือ การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกเกษตรกรผู้แปรรูปข้าว (ข้าวหลาม)

Article Details

How to Cite
ธนาวุฒิ ส., & เจริญ ส. (2019). การส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปข้าว (ข้าวหลาม) เพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญา กรณีบ้านไผ่ หมู่ที่ 5 ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 13(2), 135–145. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/GSC/article/view/165158
Section
บทความวิจัย