แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

Authors

  • พัชรา เชื้อประดิษฐ์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ศิริวิมล ใจงาม อาจารย์ที่ปรึกษา

Keywords:

การมีส่วนร่วม, โรงเรียนเรียนร่วม, project evaluation, mainstreaming school

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการมีส่วนร่วมของบุคลากร ที่เกี่ยวข้อง ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียน/ครูการศึกษาพิเศษ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านนักเรียนมีส่วนร่วมอันดับสุดท้ายคือ การเตรียมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษให้รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิต การสนับสนุนให้นักเรียนทั่วไปให้ยอมรับและช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และการบอกผู้ปกครองเด็กทั่วไปให้รู้ลักษณะความต้องการของบุตรหลาน ด้านสภาพแวดล้อมมีส่วนร่วมอันดับสุดท้ายคือ การกำหนดแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม การคัดเลือกครู/บุคลากรที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการทำงานด้านการจัดการศึกษาพิเศษ การเข้าร่วมคัดเลือกครู/บุคลากรที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับการทำงานด้านการจัดการศึกษาพิเศษ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมีส่วนร่วมอันดับสุดท้ายคือ การกำหนดแนวทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม การตัดสินใจในเรื่องการส่งต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษในขั้นสูงขึ้น หรือในสถานศึกษาอื่นต่อไป การประเมินความก้าวหน้าการเรียนรู้ของบุตรหลาน ด้านเครื่องมือมีส่วนร่วมอันดับสุดท้ายคือ การจัดหาเทคโนโลยี สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ การพัฒนาครูให้มีความรู้/มีความพร้อมในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การช่วยเหลือประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ ที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียน

2. แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมด้านนักเรียนคือ 1) ควรมีการพัฒนาบุคลากรโดยจัดอบรมให้ความรู้หรือการศึกษาด้วยตนเองในเรื่องการจัดการศึกษาพิเศษ 2) ควรมีการวางแผนดำเนินงานหรือจัดทำแผนประจำปีโดยมีการประชุม จัดตั้งคณะดำเนินงานและจัดทำแผนประจำปี 3) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชน การมีส่วนร่วมด้านสภาพแวดล้อมคือ 1) ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อทำกิจกรรม 2) มอบหมายงานให้ผู้มีคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษมาทำงาน 3) ควรให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมในเรื่องบทบาทหน้าที่ของตนเอง การมีส่วนร่วมด้านกิจกรรมการเรียนการสอนคือ 1) ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) ควรให้อำนาจกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3) มีการกำหนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ในจัดการศึกษาพิเศษ 4) ควรสร้างเครือข่ายการเรียนรู้กับชุมชน การมีส่วนร่วมด้านเครื่องมือ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกคือ 1) ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก 2) รัฐ/เขตพื้นที่การศึกษาควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น 3) ควรเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วม

 

Guidelines for Promoting the Participation of Involved Personnel in Leading   Mainstreaming Schools under the Office of Sukhothai Education Service Area 1

 The purposes of this research were to study conditions and to propose guidelines for promoting participation1 of involved personnel in leading mainstreaming schools2 under the Office of Sukhothai Education Service Area 1. A total of 200 school administrators / special education teachers, basic education committee, and parents of students 

with special needs, were recruited as research sample. Research instruments were a questionnaire seeking information on the participation of involved personnel, and an interview protocol seeking information on guidelines for promoting participation of involved personnel. Means, standard deviation, and content analysis were employed for data analyses.

The results showed that;

1. For the participation of involved personnel, three areas that found to have least participation in each aspect; student, environment, teaching and learning, and tool, were that; 1) in student aspect; preparing students with special needs to establish life goals, encouraging students without disabilities to accept and help children with special needs, and educate parents on how to understand the needs of their child, 2) in environmental aspect; allowing parents to propose guidelines in management their child education, selecting of suitable teachers / staff to work in special education, and participating in selecting of suitable teachers / staff to work in special education, 3) in teaching and learning aspect; participating in proposing guidelines for integrated education management, making decisions for transition plan, and participating in assessment of their child’s learning progress, 4) in tool aspect; providing assistive technology for students with special needs, providing teacher training on how to teach children with special needs, and seeking cooperation from other agencies or organizations to help promote integrated education in schools.

2. Guidelines to promote participation of the involved personnel comprise the following. In student aspect; 1) teacher training or self-study in special education should be provided, 2) an annual implementation plan should be early established during annual meetings, 3) a community-public relation should be set. In environment aspect; 1) community should have an opportunity for contribution. 2) qualified special educators should be hired, 3) relevant personnel should be trained to be responsible for their own roles. In teaching and learning aspect; 1) workshops on teaching and learning should be provided, 2) relevant personnel should be empowered, 3) clear policy, and strategies in special education should be set. 4) To create a network of learning communities. In tool aspect; 1) a training on educational media and assistive technology should be provided, 2) state/ district should support for more materials, and facilities, 3) community should have an opportunity for participation.


Downloads

How to Cite

เชื้อประดิษฐ์ พ., & ใจงาม ศ. (2016). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 7(2), 51–66. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55638