การศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Authors

  • สุวารีย์ วงศ์วัฒนา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ลำเนา เอี่ยมสอาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปรัชญา โพธิหัง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พิชญาพร ประครองใจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

ภาพลักษณ์, การประชาสัมพันธ์, การบริหารจัดการ, Image, Public Relation, Management

Abstract

การวิจัยภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในทัศนะอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและหัวหน้าหน่วยงานในจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบฟอร์มการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจำแนกชนิดของข้อมูล (Typological Analysis) อ่านทบทวนข้อมูลที่ได้จากบทสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มจนเข้าใจเนื้อหาสาระ  อย่างดี จากนั้นกำหนดประเด็นหัวข้อในการเขียนเนื้อหาสาระตามประเด็นที่กำหนด

            การวิจัยพบว่า การรับรู้ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏ      พิบูลสงครามในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.64 เมื่อพิจารณาตามลำดับ พบว่ามีการรับรู้ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์โดยภาพรวมสูงสุดมีค่าเฉลี่ย 3.73 ซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ มีการรับรู้ปัจจัยด้านพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 3.70 อยู่ในระดับมาก มีการรับรู้ปัจจัยด้านคุณลักษณะของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 3.63 อยู่ในระดับมาก และลำดับสุดท้ายมีการรับรู้ปัจจัยด้านการบริหารจัดการโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 3.48 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง

            มหาวิทยาลัยมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องส่งเสริมภาพลักษณ์ทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการควรชัดเจนในเชิงนโยบายและการปฏิบัติในการกระจายอำนาจลงสู่หน่วยงานระดับคณะ ด้านคุณลักษณะบุคลากร ผู้บริหารต้องเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำ คณาจารย์ต้องพัฒนาตนเองมีจิตสำนึกความเป็นครูและวางตนเป็นแบบอย่างที่ดี เจ้าหน้าที่ต้องพัฒนาเรื่องความเต็มใจให้บริการด้วยความเป็นมิตรที่ดีและความสามารถในการทำงานให้เกิดความเชี่ยวชาญ ด้านการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคมในภาพรวมจัดอยู่ในระดับดีมาก แต่การสนับสนุนจัดสรรงบประมาณบริการวิชาการควรให้คณะดำเนินการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมพบว่า ไม่ครอบคลุมการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น ควรให้ความสำคัญกับศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นมากขึ้น ด้านการประชาสัมพันธ์ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เน้นการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับผลงานวิชาการและความสามารถของนักศึกษาให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและศรัทธาด้านวิชาการในหมู่ประชาชน

The main purpose of the study was to explore the people’s attitude toward the image of Pibulsongkram Rajabhat University (PSRU). The population included lecturers from the PSRU and chiefs of organizations in Phitsanulok Province. Research tools included questionnaire, interview form and focus group discussion. The data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation, and typological analysis. After a revision of data obtained from interviews and group meetings to understand the content, the contents on the issues were written. The results showed that the level of people’s perception was 3.64 on average, with the highest mean on public relations, university mission and the attributes of lectures, staffs and students, respectively. The study suggested that the university needed to boost up the following images: administration, personnel attribute, graduate produce, research and academic service, art and culture conservation, and public relations.

Downloads

How to Cite

วงศ์วัฒนา ส., เอี่ยมสอาด ล., โพธิหัง ป., & ประครองใจ พ. (2016). การศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(1), 1–14. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/64990