การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ศิริสุภา เอมหยวก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สนทยา สาลี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม, Local Food Database, Participation Action Research

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดของอาหารที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์ ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในตำบลต่างๆ ที่อยู่ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 6 ตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพด้านการออกแบบและด้านเนื้อหาของฐานข้อมูลและแบบประเมินผลความพึงพอใจด้านการออกแบบและด้านเนื้อหาของฐานข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์สามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ 3 ประเภท คือ อาหารคาว 21 ชนิด อาหารหวาน 14 ชนิด และอาหารแปรรูป 9 ชนิด และฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์ สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมโอเพนซอร์สจุมลา มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาหารใน 6 ตำบลในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์ สามารถสืบค้นได้แบบไล่เลียง (Browse Search) และค้นในรูปแบบคำค้น (Keyword) ในการประเมินคุณภาพด้านการออกแบบของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน พบว่าการออกแบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก การประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน พบว่าเนื้อหาภายในฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้

The purposes of this participation action study were to study the local food and create a database of local food in Wat – Bot. The sample consisted of 6 Tumbons of Wat-Bot. The research tools were an interview schedule, a content assessment form, a database design assessment form, and satisfaction questionnaire. The results showed that the local food in Wat-Bot could be categorized into three types: 21 kinds of savory, 14 of sweet species and 9 kinds of processed food. The open source Joomla was used to construct the local food database which composed of food in 6 Tumbons of Wat-Bot. Users could search by using two channels which were rational (Browse Search) and search by a keyword.  As for the evaluation of the overall quality of the design by 5 specialists, it was shown that database design of local food of Wat-Bot was very good. In terms of the overall of the quality of the content by 5 specialists, it was found that the content of local food of Wat-Bot was very good. Also, the satisfaction towards the content and design of the local database by the users was at highest level with the highest mean on reference source.

Downloads

How to Cite

เอมหยวก ศ., & สาลี ส. (2016). การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์จังหวัดพิษณุโลก. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(1), 35–48. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/64992