การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ

Authors

  • ศันสนะ มูลทาดี สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์การสอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ทวีศักดิ์ ขันยศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ชนม์ชกรณ์ วรอินทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

การพัฒนา, ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ, การแสดงบทบาทสมมุติ, Development, Speaking English, The role play

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ  1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลองด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยการแสดงบทบาทสมมุติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนน้ำหนาววิทยาคม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียน       น้ำหนาววิทยาคม อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 20 คน ซึ่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมบทบาทสมมุติ จำนวน      8 แผน แบบประเมินทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง แบบประเมินทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษระหว่างการทดลอง และแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบแบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent samples) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป การวิจัยพบว่า 1. ทักษะในการพูดภาษาอังกฤษด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติของผู้เรียน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ ในระดับมาก

The purposes of this study were to compare English speaking skills before and after using role play activities and to study the levels of student satisfaction towards role play activity learning method of Grade 11 students of Namnao Wittayakom Schoool. The subjects were 20 Grade 11 students at Namnao Wittayakom School who took an elective course in listening-speaking skills. The experiment was conducted for 16 hours in the second semester of the 2014 academic year. The instruments used for the data collection were eight lesson plans focusing on role play activities, pre and posttests of English speaking, and a students’ self-assessment form. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t -test for dependent samples. The results indicated that there was a significant increase in the students’ English speaking skill at the .05 level after using role play activities, and the students were satisfied with the role play activities at a high level.

Downloads

How to Cite

มูลทาดี ศ., ขันยศ ท., & วรอินทร์ ช. (2016). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีแสดงบทบาทสมมุติ. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(1), 68–83. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/64996