การประเมินความต้องการจำเป็นของการให้บริการแนะแนวแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Authors

  • บัญชา ศรีสมบัติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สิริลักษณ์ วงศ์ประสิทธิ์ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ทัศนีย์ ต้ออินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

การประเมินความต้องการจำเป็น, การให้บริการแนะแนว, Needs Assessment, Counseling Service

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของการให้บริการแนะแนวแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ภาคปกติภาคเรียนที่ 1/2558 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ที่สอบถามเกี่ยวกับสภาพเป็นจริง และสภาพที่ควรจะเป็น สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยการเรียงลำดับคะแนนด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PINModified) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีความต้องการจำเป็นให้มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดให้มีบริการแนะแนว สูงที่สุดคือ 5 ลำดับ ดังนี้ลำดับ  ที่ 1 ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร เพื่อส่งเสริมความพร้อมในการประกอบอาชีพในอนาคต PINModified เท่ากับ 0.354 ลำดับที่ 2 ต้องการให้มีการสำรวจปัญหาของนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนการศึกษา PINModified เท่ากับ 0.350 ลำดับที่ 3 ต้องการให้มีการจัดทุนการศึกษาให้นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ PINModified เท่ากับ 0.338 ลำดับที่ 4 ต้องการให้มีการเยี่ยมบ้านเพื่อทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับนักศึกษา PINModified เท่ากับ 0.311 และลำดับที่ 5 ต้องการให้มีการให้ความช่วยเหลือในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น PINModified เท่ากับ 0.299 ตามลำดับ

 

Pibulsongkram Rajabhat University is home to thousands of students from Phitsanulok and many surrounding provinces in the lower north of Thailand. Most students require counseling in various aspects, namely housing, courses of study, funding, and higher educational opportunity. The aim of this study was to examine the needs for counseling services of students who enrolled various undergraduate programs at the university. A total of 387 students were surveyed. Results showed that the highest needs were on academic guidance, scrutinizing needy students, broader financial support, and home visit, while the lowest one was on higher educational assistance.

Downloads

How to Cite

ศรีสมบัติ บ., วงศ์ประสิทธิ์ ส., & ต้ออินทร์ ท. (2016). การประเมินความต้องการจำเป็นของการให้บริการแนะแนวแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(1), 15–34. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/65820