การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • อุไรวรรณ ปานีสงค์
  • จิต นวนแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • สุมาลี เลี่ยมทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Keywords:

การสืบเสาะหาความรู้, แผนผังมโนทัศน์, การคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, Inquiry Method, Concept Mapping, Analytical thinking, Achievement

Abstract

บทคัดย่อ 

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 3 ข้อ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ 3) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มโดยการจับฉลาก (random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.20 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 – 0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.50 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 – 0.55 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า

   1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาชีววิทยา เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หลังเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

   2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0.5

3. จากการหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ที่ยอมรับได้มีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปทุกหัวข้อ

 

ABSTRACT

Learning Management using Inquiry Method (5E) with Concept Mapping technique Organism and Enviroment on Analytical thinking Abiliy and Achievement of Matthayom Saksa 4 . The purpose of this study were to : 1) to compare Pre test and Post test Analytical thinking Abiliy of Matthayom Saksa 4 Organism and Enviroment  using Inquiry Method (5E) with Concept Mapping technique 2) to compare Pre test and Post test Achievement of Matthayom Saksa 4 Organism and Enviroment  using Inquiry Method (5E) with Concept Mapping technique 3) Develop Learning using Inquiry Method (5E) with Concept Mapping technique Samples used in this study consisted of students who study in Triam Udom Saksa School of the South at  Matthayom Saksa 4  40 students were selected by random sampling in each classroom unit. Tools used in this study, Includes Inquiry Method (5E) with Concept Mapping technique lesson plans 10 plans , achievement test of multiple choice type with 60 items. There were difficulty from 0.20 to 0.80 , discriminative from 0.25 to 0.70, reliability of both was 0.93 used and Analytical thinking Abiliy  test of multiple choice type with 30 items. There were difficulty from 0.50 to 0.80 ,  discriminative from 0.25 to 0.55 , reliability of both was 0.85 used.Average standard deviation was used for data analysis and the hypothesis was tested using t-test (Dependent Samples).

The results of this study showed that :

1) The students in Mathayom Suksa 4 learning by Inquiry Method (5E) with Concept Mapping technique had post test Analytical thinking Abiliy higher than pre test at the .05 level. of  significance.

2) The students in Mathayom Suksa 4 learning by Inquiry Method (5E) with Concept Mapping technique had post test achievement higher than pre test at the .05 level. of  significance.

3) Plan Learning using Inquiry Method (5E) with Concept Mapping had Index of Item Objective Congruence acceptable.

Downloads

Published

24-01-2017

How to Cite

ปานีสงค์ อ., นวนแก้ว จ., & เลี่ยมทอง ส. (2017). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 11(1), 134–147. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/68135