การพัฒนาเทคนิคการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกล สำหรับใช้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์

Authors

  • ประกรณ์ เลิศสุวรรณไพศาล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา หลักสูตรดุษฎีมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พิทักษ์ อยู่มี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อนงค์ ศรีโสภา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

การไทเทรต, เทคนิคไมโครสเกล, ห้องเรียนวิทยาศาสตร์, Titration, Microscale Technique, Science Classes

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกล 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการที่สร้างขึ้นจากการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกลตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทฺธิ์ทางการเรียนภายหลังการใช้บทปฏิบัติการการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกล 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกลด้วยการพัฒนาเทคนิคการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกล เพื่อใช้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการดัดแปลงอุปกรณ์ในการไทเทรตให้สามารถนำมาใช้ในระดับไมโครสเกลตรวจสอบความถูกต้องโดยเปรียบเทียบกับการไทเทรตแบบดั้งเดิมและการใช้เครื่องออโตโพเทนชิโอไทเทรชัน เพื่อพัฒนาใช้กับบทปฏิบัติการสำหรับการไทเทรตกรด–เบส ด้วยเทคนิคการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกล แล้ววิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการ จากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนและประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน โดยจัดการเรียนรู้แบบ 5E ด้วยบทปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นแล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมปลายสายวิทยาศาสตร์ที่เคยเรียนการไทเทรตแบบดั้งเดิมมาแล้ว โดยสุ่มตัวอย่าง จำนวน 12 โรงเรียน ในจังหวัดพิษณุโลก มีจำนวนนักเรียน 370 คน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบที่ผู้ประเมินผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ การนำความรู้และกระบวนการวิทยาศาสตร์ไปใช้ ผลการวิจัยพบว่าชุดอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกล สามารถลดการใช้สารเคมีลงได้ 10 เท่า เมื่อเทียบกับการไทเทรตโดยวิธีดั้งเดิม พบว่าปริมาณความเข้มข้นของสารที่วิเคราะห์มีความเข้มข้นใกล้เคียงกันและมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ และพบว่ากลุ่มนักเรียนที่ได้เรียนโดยใช้บทปฏิบัติการเรื่องการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกลที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อบทปฏิบัติการ พบว่าอยู่ในระดับดี ดังนั้นสรุปได้ว่าบทปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้จัดการเรียนรู้เรื่องการไทเทรตกรด-เบส ในวิชาเคมีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  

Abstract

            The research objectives were 1) to develop the techniques of titration based on the microscale, 2) to study the efficiency of operations based on developing a titration techniques of titration by using micro-scale criteria 75/75, 3) to study the achievement test after using of laboratory operations by developing a titration techniques based on the micro scale and 4) to study the students' satisfaction with the quality of laboratory by developing a titration techniques based on the microscale. A microscale titration was verified by comparing the results with those obtained by classical titration and autotitration method. Laboratory study module was developed for acid-base microscale titration. The effective ness of laboratory for acid–base microscale titration was determined by measuring pre/post test. Satisfaction of the students with 5 E process studying was also evaluated. The development of laboratory study module was tried out with high school students who have experience in the classical titration. The science classes in 12 schools with a total of 370 students in Phitsanulok province were randomed sampling. The achievement test of 4 aspects i.e. knowledgement, comprehension, scientific inquiry process, and scientific application was investigated. The results showed that the developed laboratory process can reduce the use of chemical for 10 times to the classical titration. The concentration of the analytes determined by 3 different methods was not different significantly. Relative standard deviation of the proposed method was in the acceptable range. The post-test scores of students were significantly higher than the obtained for pre-test at 0.05 level. The satisfaction laboratory studying was found to be good. Therefore the proposed laboratory was used for the study in acid-base titration in science classes. This method is also friendly to environment.

Downloads

How to Cite

เลิศสุวรรณไพศาล ป., อยู่มี พ., & ศรีโสภา อ. (2016). การพัฒนาเทคนิคการไทเทรตโดยใช้หลักการไมโครสเกล สำหรับใช้ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 18–36. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73411