การประยุกต์ใช้บัญชีเพื่อการจัดการสำหรับการตัดสินใจผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP: Seed) : กรณีศึกษาของเกษตรกรในเขตจังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • อุษณีย์ เส็งพานิช คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

บัญชีเพื่อการจัดการ, ต้นทุนการผลิต, การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, Managerial Accounting, Cost, Rice seed production, Good Agricultural Practice (GAP, Seed)

Abstract

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP: Seed) ของเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก 2) เปรียบเทียบต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวกับราคาจำหน่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน 3) ศึกษาปัญหาในกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามข้อกำหนดและเกณฑ์ตามมาตรฐาน GAP: Seed ประชากรคือเกษตรกร หน่วยงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวภาครัฐและร้านค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวเอกชนในจังหวัดพิษณุโลก การเลือกและกำหนดขนาดตัวอย่างมีดังนี้ ในการศึกษาต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบ GAP: Seed กำหนดตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นเกษตรกรเจ้าของแปลงทดลอง 2 ราย การเปรียบเทียบต้นทุนเมล็ดพันธุ์กับราคาจำหน่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน กำหนดตัวอย่างแบบเจาะจงให้ร้านค้าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวในอำเภอเมือง 10 ร้าน เป็นตัวแทนภาคเอกชน ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลกและสหกรณ์การเกษตรพรมพิรามเป็นตัวแทนในภาครัฐ และการศึกษาปัญหาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GAP: Seed กำหนดขนาดตัวอย่างด้วยตาราง Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ 395 ราย เลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งชั้นภูมิตามอำเภอในจังหวัดพิษณุโลกและใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเลือกตัวอย่างจากแต่ละอำเภอ เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบจดบันทึก และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการศึกษาต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP: Seed) ของเกษตรกรในจังหวัดพิษณุโลก และเปรียบเทียบกับต้นทุนหรือราคาจำหน่ายจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการศึกษาระดับปัญหาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GAP: Seed ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนเมล็ดพันธุ์ข้าวต่อกิโลกรัมตามระบบ GAP: Seed คือ 9.74 บาท ส่วนราคาจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก คือ 21 บาท สหกรณ์การเกษตรพรมพิราม 16 บาท และร้านค้าเอกชน 17.8 บาท ซึ่งสรุปได้ว่าราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตเองตามระบบ GAP: Seed มีต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้นเกษตรกรควรตัดสินใจเลือกผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบ GAP: Seed ไว้ใช้เองมากกว่าการซื้อจากแหล่งอื่นๆ ส่วนปัญหาในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามข้อกำหนด GAP: Seed พบว่าปัญหาในระดับมาก 3 อันดับแรก คือ การปลูกซ่อมต้องใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งเดียวกัน การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตเองต้องผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรและการกำจัดวัชพืชที่ดี ไม่มีวัชพืชขึ้นรบกวนหรือมีน้อยกว่า 20% ของพื้นที่

  

Abstract

             This research aimed to study the cost of rice seed produced by GAP: Seed and to compare it with those sold by the public sector and the private sector. Moreover, this research studied the extents of the problems of employing GAP: Seed process. Population was farmers, public seed organizations and private seed shops, in Phitsanulok, listed in the 2011 database of Phitsanulok Provincial Agricultural Extension Office. Purposive sampling was employed to select 2 groups of sample. First, a farmer, owning the experimented farm, was selected to study the cost of rice seed produced by GAP: Seed. Second, Phitsanulok Rice Seed Center, Phromphiram Cooperative and 10 rice seed shops in Muang district were selected to compare the cost of rice seed produced by GAP: Seed to the prices sold by the public sector and the private sector. Moreover, stratified sampling and simple random sampling were applied to select 395 samples, determined by Taro Yamane Table at 95% confidence, to study the extents of the problems of employing GAP: Seed process. Interviews and recordings were applied to collect the data on the cost and the prices from the farmers, the public sector and the private sector, which were analyzed by content analysis technique. In addition, questionnaires were used to collect the data on the extents of the problems of employing GAP: Seed process, which was statistically analyzed by mean ( ) and Standard Deviation (S.D.). The research results showed that the cost of GAP rice seed was 9.74 baht/kilogram. This was the lowest price compared with those of state rice seed centers, agricultural cooperatives, and private rice seed shops, at 21, 16, and 17.80 baht per kilogram respectively. Therefore, farmers should make decision to produce rice seed by GAP: Seed themselves to obtain good quality seed to plant in their farms rather than buying seed from other sources. In addition, the first three high ranks of the problems of employing GAP: Seed in rice seed farming were as follows: firstly, the seed used for replanting must be from the same source as the former one, secondly, the self-produced rice seeds used for farming must be officially certified by Department of Agriculture and lastly, less than 20% of rice seed was allowed in the farm lands.

Downloads

How to Cite

เส็งพานิช อ. (2016). การประยุกต์ใช้บัญชีเพื่อการจัดการสำหรับการตัดสินใจผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP: Seed) : กรณีศึกษาของเกษตรกรในเขตจังหวัดพิษณุโลก. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 37–54. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73540