เปรียบเทียบอัตลักษณ์ละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรี กับละครชาตรีจังหวัด

Authors

  • ตรีรัตน์ วิสุทธิพันธ์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • จินตนา สายทองคำ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พิมณภัทร์ ถมังรักษ์สัตว์ คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Keywords:

ละครชาตรี, ละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรี, ละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการ, Lakhon Chatri, Lakhon Chatri of Petchaburi, Lakhon Chatri of Samut Prakan

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาความเป็นมารูปแบบการแสดง องค์ประกอบการแสดงของละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรี และละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการ 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบ รูปแบบการแสดง องค์ประกอบการแสดงของละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรีกับละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการ โดยมีขอบเขตในการศึกษา ความเป็นมา รูปแบบการแสดงและองค์ประกอบการแสดงละครชาตรีของคณะสุดประเสริฐ และรูปแบบการแสดง องค์ประกอบการแสดงของละครชาตรีในจังหวัดเพชรบุรี และละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการที่มีอายุยาวนานกว่า 25 ปีขึ้นไป โดยศึกษาเอกสาร เก็บข้อมูลภาคสนาม และการสนทนากลุ่ม

            ผลการวิจัยพบว่าการแสดงละครชาตรี มีที่มาจากละครโนราห์ หรือโนราห์ชาตรีจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการพัฒนาผสมผสานรูปแบบละครนอกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และแผ่ขยายวงกว้างออกไปตามจังหวัดต่างๆ ในปัจจุบันละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรีได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบละครชาตรีที่มีรูปแบบการแสดงมาจากละครโนราห์ผสมผสานกับรูปแบบละครหลวงที่ได้รับการถ่ายทอดเมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการแสดงละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรีนี้มีอิทธิพลต่อการแสดงละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากครูผู้ถ่ายทอดนั้นเป็นครูละครเมืองเพชรและเป็นลูกศิษย์หม่อมเมือง ซึ่งรูปแบบการแสดงละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดสมุทรปราการมีรูปแบบการแสดง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนพิธีกรรม และส่วนการแสดง โดยละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการ คณะสุดประเสริฐมีลำดับขั้นตอนการแสดง ดังนี้ บูชาครู โหมโรง ร้องเชิญ รำถวายมือ รำซัดหน้าบท จับเรื่องแสดง (เช้า) จับเรื่องแสดง (บ่าย) ร้องส่ง ลักษณะวิธีการแสดงมี
3 ลักษณะคือ 1) เปิดเรื่อง 2) ดำเนินเรื่อง 3) ปิดเรื่อง และมีองค์ประกอบการแสดงทั้งหมด 9 องค์ประกอบคือ 1) คนบอกบท 2) ผู้แสดง 3) เรื่องที่ใช้ในการแสดง 4) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง 5) เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง 6) ลักษณะท่ารำประกอบการแสดง 7) เครื่องแต่งกาย 8) อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง 9) โอกาสและสถานที่แสดง และพบว่ารูปแบบและองค์ประกอบการแสดงละครชาตรีจังหวัดสมุทรปราการ มีอัตลักษณ์เฉพาะ อันเกิดจากการพัฒนาและปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ส่งผลต่อความคงอยู่และได้รับความนิยมสืบมา

 Abstract

            The objectives of this thesis are: 1) to study background, form, and elements of Lakhon Chatri in Phetchaburi and Samut Prakan; 2) to compare and analyze the form and elements of Lakhon Chatri in Phetchaburi and Samut Prakan. The scope of the study is to study background, form, and elements of Lakhon Chatri of Sudprasert Theater, and to study the form and elements of Lakhon Chatri in Phetchaburi and Samut Prakan that have been performed for more than 25 years. The study was conducted by reviewing document, doing field study, and organizing group discussion.

            The results showed that Lakhon Chatri has an origin from Nora or Nora Chatri since Ayutthaya period. It has developed and combined with Lakhon Nok in Rattanakosin period and was widely spread to different provinces. In the present, Lakhon Chatri of Phetchaburi has been recognized as a model that has the combined format of Nora and royal theater, which has been passed down since the reign of King Rama V. Lakhon Chatri of Phetchaburi influenced Lakhon Chatri of Samut Prakan, because the teacher is the drama teacher from Phetchaburi and the pupils of Mom Mueang. The form of Lakhon Chatri of Phetchaburi and Samut Prakan can be divided into 2 parts: rituals and performances. The performance orders of Sudprasert Theater of Samut Prakan are as follows: Paying respect, Overture, Hail, Blessing dance, Opening dance, Story (beginning), Story (ending), Finale. The format of Lakhon Chatri consists of 3 parts: 1) Opening, 2) Play, 3) Ending. Lakhon Chatri consists of 9 elements: 1) Prompter 2) Performers, 3) Story, 4) Music, 5) Lyric, 6) Cholograph, 7) Costume, 8) Props, 9) Time and place.

            It is found that the format and elements of Lakhon Chatri of Samut Prakan have their unique identity, which is the results from the development and adaptation to the change of society, economy, and culture that affect the existence and continual popularity.

Downloads

How to Cite

วิสุทธิพันธ์ ต., สายทองคำ จ., & ถมังรักษ์สัตว์ พ. (2016). เปรียบเทียบอัตลักษณ์ละครชาตรีจังหวัดเพชรบุรี กับละครชาตรีจังหวัด. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 87–102. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73553