การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลง ของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และ ความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • ชยานันต์ จิรสินกุลโรจน์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา แขนงวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กิจติ รอดเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วนินทร สุภาพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

กิจกรรมการเรียนรู้, โมเดลการแปลงของเลชตัวต่อเลโก้ (LEGO®), เศษส่วน, Learning Activities, Lesh’s Translation Model, LEGO® Brick

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ เรื่อง เศษส่วน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) เรื่อง เศษส่วน 2) แบบวัดมโนทัศน์แบบต่อเนื่องสองขั้นตอน เรื่อง เศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) มีความเหมาะสมในระดับมาก และมีประสิทธิภาพ 77.78/79.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) นักเรียนมีมโนทัศน์ เรื่อง เศษส่วน หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) สูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) กับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปแล้ว 3 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน

 

 Abstract

             The purposes of this study were 1) to construct and find the efficiency of mathematics learning activities by the criterion of 75/75, 2) to compare mathematics concepts on fraction before and after learning activities and compare mathematics concepts after learning on fraction with the determined criterion of 75 percent, and 3) to study the learning retention on fraction after learning activities. The samples used in this research were 35 grade 4 students in 2015 Academic Year. The research tools used in this research consisted of 1) lesson plans of mathematics learning activities by using Lesh’s translation model with LEGO® brick on fraction in prathomsuksa 4, 2) the two-tier test for Fraction Concepts. The results of this research were 1) The mathematics learning activities were appropriate at a high level and had the efficiency of 77.78 / 79.44, which was satisfied the criterion 75/75, 2) students’ mean scores of concepts on fraction after learning were higher than before and higher than the determined critrrion of 75 percent at the statically significant level of .05, 3) students’ mean scores of concept on fraction after learning activities immediately and after 3 weeks were not statistically significant, therefore the learning activities can help to improve retention for students.

Downloads

How to Cite

จิรสินกุลโรจน์ ช., รอดเทศ ก., & สุภาพ ว. (2016). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลง ของเลชด้วยตัวต่อเลโก้ (LEGO®) เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และ ความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 122–137. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73572