การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนระเบียบวิธีการวิจัย ทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์

Authors

  • อัญชลี สุขในสิทธิ์ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

สื่อสังคมออนไลน์, การเรียนการสอน, ทัศนคติ, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์, Social Media, Instruction, Attitude, Research Methodology in Social Sciences

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2558 จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานด้านระเบียบวิธีวิจัย แบบหลายตัวเลือกชนิด 4 ตัวเลือก 2) แบบประเมินทักษะการทำวิจัย 3) แบบประเมินคุณภาพรายงานการวิจัย และ 4) แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และสถิติอนุมาน One Sample T-Test และ T-Test Dependent            ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้พื้นฐานด้านระเบียบวิธีวิจัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p=.00, t=70.72) ทักษะการวิจัยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mean=3.59, S.D.=0.73) คุณภาพรายงานการวิจัยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (mean=3.97, S.D.=0.74) ค่าผลการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (เกณฑ์=3.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทัศนคติที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean=3.55, S.D.=0.81)

Abstract 

           This research aims to examine the use of social media in teaching research methods in social sciences. The sample group contains 105 undergraduate students, enrolling in 2 classes: SO333, Research Methods in Social Sciences; and SS471, Research Methodology and Statistics in Social Sciences, in 2015. The research tools include: 1) Basic Research Test, 4 multiple choice questions; 2) Research Skills Evaluation Form; 3) Research Paper Evaluation Form; and 4) Questionnaire exploring attitudes toward using social media for instruction, which analyzes basic statistics skill, one sample t-test, and t-test dependent.

            The results reveal that posttest score higher than pretest score at .05 level of significance (p=.00, t=70.72). The overall research skills was good level (mean=3.59, S.D.=0.73) and the quality of research report was good level (mean=3.97, S.D.=0.74) also, the average of GPA higher than criteria (at 3.00) at 0.05 level of significance. The attitude toward using social medias for instruction was good level (mean=3.55, S.D.=0.81).

Downloads

How to Cite

สุขในสิทธิ์ อ. (2016). การศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนระเบียบวิธีการวิจัย ทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 138–154. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73573