ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์

Authors

  • สรคุปต์ บุญเกษม มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
  • สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
  • วินัย รังสินันท์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

Keywords:

ปัจจัยการบริหารจัดการ, ประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก, Administrative factors, Small schools effectiveness

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการ และประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา รวมประชากรทั้งสิ้น 4,747 คน กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 837 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ โดยใช้วิธี(One sample t-test) และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการและระดับประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 2) ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ มีจำนวน 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยการบริหารจัดการ ด้านงาน ด้านคน และด้านเทคโนโลยี ทั้งสามปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลโรงเรียนได้ร้อยละ 69.0 (R2 = .690) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

 

Abstract 

          The objectives of the research were to study 1) the levels of small schools’ management affiliated with the primary educational service area office in Nakhonsawan province. 2) to study the administrative factors affecting small schools effectiveness affiliated with the primary educational service area office in Nakhonsawan province. The populations were principals, teachers and school committee’s total amount 4,747. The respondents were principals, teachers and school committee’s total amount 837. By using simple random sampling, schools were sampling units. The instruments were 5 rating scales questionnaires. The statistics were means, standard deviations, t-test to access the statistical significant between means and test value (3.50) and analyzed with stepwise multiple regressions. The research results have indicated that 1) The levels of school effectiveness and small schools’ management affiliated with the primary educational service area office in Nakhonsawan province were high statistically significant level .01. 2) The factors of task, human and technology  were the administrative factors affecting small schools effectiveness affiliated with the primary educational service area office in Nakhonsawan province. All of them could predict school effectiveness statistically significant level .01 at 69.00 percent.

Downloads

Published

01-06-2017

How to Cite

บุญเกษม ส., กองสุทธิ์ใจ ส., & รังสินันท์ ว. (2017). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 11(1), 217–230. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/79721