การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย

Authors

  • ณัฐวุฒิ เอี่ยมแจง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สมหมาย อ่ำดอนกลอย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

การบริหารงานบุคคล, แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Personnel Administration, Guideline for human resources management

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพ และแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย วิธีดำเนินงานวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 33 คน ครูผู้สอน จำนวน 289 คน รวมจำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคล โดยวิธีการสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการสรรหาบุคลากร 2) ด้านการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านการทำนุบำรุงรักษาบุคลากร
4) ด้านการให้พ้นจากงาน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า เกือบทุกด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการพัฒนาบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง

2. แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย ได้แก่ 1) ด้านการสรรหาบุคลากร ควรมีการสำรวจความถนัดและความต้องการของครูในการบรรจุ
การเปลี่ยนย้ายหน้าที่ปฏิบัติงาน มีการจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนะนำแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และมีการมอบหมายงานให้บุคลากรตามความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสม 2) ด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการวางแผนปรับปรุงบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการวางแผนเพื่อให้การทำงานของบุคลากรเกิดประโยชน์สูงสุด มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันในการบริหารงานบุคคล 3) ด้านการทำนุบำรุงรักษาบุคลากร ผู้บริหารโรงเรียนควรมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา ควรสนับสนุนความก้าวหน้าในวิชาชีพ
มีการสนับสนุนด้านสวัสดิการ และควรจัดให้มีการสัมมนาศึกษาดูงาน/ทัศนศึกษา แก่บุคลากรทุกคนเป็นประจำทุกปี 4) ด้านการให้พ้นจากงาน ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมโดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนอธิบายแก่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจ มีการแนะนำหลักเกณฑ์ ตักเตือนหรือลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดระเบียบวินัยอย่างเป็นธรรม มีระบบการนิเทศติดตามบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ

 

Abstract

This research aims were to study the state and guideline for personnel administration in schools under the Local Government of Sukhothai. Research methodologies were as follows: First step, to study the state of human resources management. The samples were 33 school principals and 289 teachers. The research instrument was questionnaire. The data were analyzed by using mean and standard deviation. Second step, to study guideline for human resources development by using interview. The targets were 5 experts. The research methodology was a transaction in 4 sections: 1) searching for human resources, 2) human resources development, 3) human resource preservation and, 4) human resource retirement. The data were analyzed by using frequency and content analysis. The results were as follows:

1. The state and guideline for personnel administration in schools under the Local Government of Sukhothai overall was at a high level. When considering by each sections, it was found that almost all sec forms were at a high level, except for human resource retirement was at a mediate level.

2. The guidelines for personnel administration in schools under the Local Government of Sukhothai were as follow: 1) In terms of searching for human resources, there should be a survey to find capable teachers, teacher needs for teachers who need recruitment and change of relocation. There are should be a meeting to to provide and guidelines for an operation continuously and to assign the work according to their knowledge and ability. 2) In terms of personnel administration, there should be a plan to improve the human resource effectively, a plan for the most working with; and have the current updated information on human resource management. 3) In terms of human resource preservation, the school principals should have a good relationship with the teachers, support them is career progress support welfares to terms and propose a seminar or field trip for them regularly. 4) In terms human resource retirement, there should be an assessment with a clear standards and indicators that are easy to understand; introducing on the rules or warning or punishment to those who are wrong does with righteously, and provide supervision regularly.

Downloads

How to Cite

เอี่ยมแจง ณ., & อ่ำดอนกลอย ส. (2017). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุโขทัย. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 11(1), 36–51. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/90657