รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจที่เหมาะสม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Authors

  • วิจิตรา จำลองราษฎร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ไพศาล ริ้งธงชัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • วาลิกา โพธิ์หิรัญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธิดารัตน์ วุฒิศรีเสถียรกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจที่เหมาะสม, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, A Suitable Business Asset Management Model, Pibulsongkram Rajabhat University

Abstract

บทคัดย่อ 

         การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยศึกษาข้อมูลจากหน่วยงาน/โครงการ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจ จำนวน 6 หน่วยงาน/โครงการ และศึกษาจากมหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีรูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจที่ดี จำนวน 6 แห่ง และนำผลจากการศึกษาเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เพื่อวิพากษ์ผลการศึกษา โดยผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ควรมีองค์ประกอบ ได้แก่ ด้านนโยบาย ควรมีการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลที่เชื่อมโยงกับการจัดการศึกษาในลักษณะของธุรกิจเชิงวิชาการ/ด้านโครงสร้าง ควรมีการจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินขึ้น ทำหน้าที่กำกับดูแลหน่วยงาน/โครงการที่มีการบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้และผลประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยและเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัย มีความคล่องตัว มีสายงานบังคับบัญชาขึ้นตรงต่ออธิการบดี/ด้านบุคลากร ควรมีการบริหาร 3 ระดับ ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ/ด้านกฎระเบียบ ควรมีการออกกฎระเบียบรองรับการดำเนินงานที่ชัดเจน และด้านการเงินและงบประมาณ ควรมีการจัดทำแผนงานงบประมาณรายจ่าย และมีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานทุกไตรมาสและประจำปี

Abstract

           The purpose of this research on a Business Asset Management Model for Pibulsongkram Rajabhat University (PSRU) was to derive a suitable model for PSRU commercialized asset management through a qualitative approach research methodology. Six PSRU business units were investigated on their management processes to determine their background, scope, performance and limitation. The documentation research, site visiting, and in-depth interview were conducted with six well-practiced asset management universities to compile a model. Above-mentioned steps was the qualitative method, consisting of ten experts, for their critics. The results were found that PSRU should apply good governance policy for its asset management, and commercially integrate with the PSRU academic management. PSRU should establish an asset management office to supervise and control PSRU business units that can create revenue and benefit to PSRU. This independent and agile agency should be directed under the PSRU president. PSRU should divide their business units structure into 3 levels consisting of policy-making, managerial and operating levels. On regulation aspect, PSRU should issue clear rules and regulations for standard operating procedures. Further, PSRU establish the fiscal budgeting and plan, as well as publish the PSRU business units performance reports quarterly and annually.  

Downloads

How to Cite

จำลองราษฎร์ ว., ริ้งธงชัย ไ., โพธิ์หิรัญ ว., & วุฒิศรีเสถียรกุล ธ. (2016). รูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินเชิงธุรกิจที่เหมาะสม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 213–227. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73605