การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • สุกัญญา แย้มกลีบ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จักรกฤษณ์ สมพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อังคณา อ่อนธานี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, เทคนิค STAD, กลวิธีเมตาคอกนิชัน, การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์, Learning Packages, STAD Technique, Metacognition, Solving Mathematic Problems

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 4 หน่วย เสนอชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากนั้นปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อหาประสิทธิภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลสากเหล็ก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชันผลการทดลองพบว่า

1)       ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 4 หน่วย มีประสิทธิภาพ 78.67/77.50, 76.82/76.25, 78.75/76.25 และ 78.75/75.00 ตามลำดับ และโดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 78.24/76.25

2)       นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้

3)       นักเรียนพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

          The purposes of this research were 1) to construct and identify the efficiency of learning packages by STAD technique with metacognition to enhance Mathematics word problem solving ability on ratio and percentage for mathayomsuksa II students. 2) to compare Mathematics solving ability in mathematical problems between before and after using learning packages, and 3) to study student satisfaction in learning with packages by STAD technique  with metacognition. The research procedure was composed of 3 steps of research and development processes as follows: the first step was to construct and identify 4 set for the efficiency of learning packages by STAD technique with metacognition to enhance Mathematics word problem solving ability on ratio and percentage them presented to 5 experts to consider the appropriate ness of learning packages, then improved them according to the experts advices, and found the efficiency by conducting the experiment with Mathayomsuksa II students. The instruments used in research were the learning packages by STAD technique with metacognition to enhance Mathematics word problem solving ability on ratio and percentage. The second step was to compare strategy to enhance Mathematics word problem solving ability on before and after learning with learning packages.The samples were consisted of 35 Mathayomsuksa II students, from Anuban Saklek School semester 2 in academic year 2014, employed by purposive sampling. The instrument was designed to measure their ability to solve mathematical problems. And the third step studied student satisfaction with cooperative activities and assessed the student satisfaction per class with a development of learning packages by STAD technique with metacognition.

            The results of the study were as follows:

  1. The 4 sets of learning packages were efficient at 78.67/77.50, 76.82/76.25, 78.75/76.25 and 78.75/75.00 and the overall efficiency was 78.24/76.25.
  2. The students can solve mathematical problems with development of learning packages by STAD technique with metacognition ability on ratio and percentage after studying higher than before studying
  3. The students were satisfied with the course of a series of learning activities at the highest level.

Downloads

How to Cite

แย้มกลีบ ส., สมพงษ์ จ., & อ่อนธานี อ. (2016). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 103–121. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73564