ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดวินัยของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์

Authors

  • ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Keywords:

ปัจจัย, การกระทำผิดวินัยของข้าราชการครู, Factors, Disciplinary Action against the Teachers

Abstract

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้เกี่ยวกับวินัยข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 2) ปัจจัยที่ทำให้ครูกระทำผิดวินัยข้าราชการ และ 3) แนวทางมาตรการป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า

            1. ระดับความรู้เกี่ยวกับวินัยข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 50.00

            2. ปัจจัยที่ทำให้ข้าราชการครูการกระทำผิดวินัยของข้าราชการ ด้านปัจจัยส่วนบุคคลในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.26 และปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 2.29 อยู่ในระดับปานกลาง

            3. แนวทางมาตรการป้องกันการกระทำผิดวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ข้อสรุปเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1) การพัฒนาข้าราชการ โดยการปลูกจิตสำนึกเพื่อให้เป็นข้าราชการที่ดี ปรับทัศนคติให้ตระหนักถึงความสำคัญของวินัยข้าราชการเสริมสร้างความรู้และเข้าใจกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวกับวินัยที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 2) การปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา โดยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาวินัย อบรมชี้แจงให้ข้าราชการเข้าใจกฎหมาย ระเบียบ แบบแผนของทางราชการ และบทบาทภาระหน้าที่ ปกครองบังคับบัญชาและพิจารณาความดีความชอบด้วยความเป็นธรรม ยกย่องส่งเสริมผู้รักษาวินัย และกวดขันการรักษาวินัย รวมทั้งดำเนินการทางวินัยด้วยความยุติธรรมอย่างเสมอภาคและเป็นไปตามกฎหมาย 3) การบริหารงานของส่วนราชการจัดให้มีการตรวจสอบการรักษาวินัยในแต่ละหน่วยงานประชาสัมพันธ์ให้สังคมช่วยตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่และพฤติกรรมของข้าราชการ เสนอแนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับทางวินัยให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันตลอดจนการจัดสวัสดิการให้สอดคล้องกับความจำเป็นของข้าราชการ 4) ระเบียบข้อบังคับด้านวินัย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับวินัย ควรมีบทลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาดปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ให้สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานในปัจจุบัน 5) ด้านสวัสดิการควรปรับเงินเดือนข้าราชการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน จัดสวัสดิการช่วยเหลือข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำให้มากขึ้นเพื่อลดค่าครองชีพ

 Abstract 

          The purposes of this study were 1) to study the level of knowledge on the government efficient disciplinary law in B.E. 2547, 2) to study factors that make teacher discipline offenders, 3) to study the disciplinary measures against perpetrators of teachers under the Primary Educational Service Area Office Phetchabun province. The population of the study is the teachers of District Education Office Phetchabun. The samples in this study were to participants. The instrument was a questionnaire and the data were analyzed by percentage, standard deviation and content analysis. The research found that

            1. The level of knowledge on the government efficient disciplinary law in B.E. 2547 from Primary Educational Service area Office Phetchabun overall is at a low level of 50.00 percent

            2. Factors that cause teacher malfeasance in terms of personal factors as a whole were moderate with the mean of 2.26 and in terms of performance was moderate the mean of 2.29

            3. The disciplinary measures against the perpetrators and discipline of teachers from Primary Educational Service Area Office Phetchabun were as follows: 1) The development of school teachers by cultivating good conscience and raising awareness of being a good teacher and the importance of teachers’ disciplines building up their knowledge on rules and regulations, 2) in terms of supervisors’ performances: they should behave well and be good role models for teachers in terms of following: training teachers to understand the rules and disciplines; to be aware of their own duties; supervising and promoting good teachers fairly and equally under the law. 3) In terms of government administration, the government efficient behavior. The lows and regulations should be proposed for the reform up to appropriateness and updated and government their welfare should be provided according to their needs. 4) The rules and regulations themselves should be conducted by legislating more severe and stricter laws and penalties; improving the rules and regulations to suit the current situations. 5) in terms of welfare, official salary should be adjusted to fit the current situation, help government employees to reduce the cost of living.

Downloads

How to Cite

ลิ้มประสงค์ ณ. (2016). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดวินัยของข้าราชการครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 10(2), 174–193. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/73592