ยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

Authors

  • ณพวัศกช์ เดชชาตรี
  • กฤตติกา แสนโภชน์
  • อรุณศรี อื้อศรีวงศ์
  • ธนกฤต ทุริสุทธิ์

Keywords:

พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์, คำชะโนด, การจัดการแหล่งท่องเที่ยว, Sacred site, Khamchanod, Management for tourist attractions

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด   อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 2) กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 3) ประเมินยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด  อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed  Method Research กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้นำชุมชนจำนวน 20 คน คณะกรรมการบริหารคำชะโนด 12 คน ผู้ทรงคุณวุฒ 40 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 20 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม กระบวนการประชุมเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน(F.S.C.) SWOT Analysis และแบบประเมิน เป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ใช้สถิติค่าความถี่  ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1.)สภาพทั่วไป คำชะโนดมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ มีต้นชะโนด 1,865 ต้น ในฤดูน้ำหลากคำชะโนดจะลอยตัวขึ้น เวลาน้ำลดคำชะโนดก็จะคงอยู่กับที่ มีศาลปู่ศรีสุทโธ ที่เป็นนาคา    ธิบดีซึ่งเชื่อว่าผู้ไปกราบขอพรจะเกิดบารมีและมีโชคลาภ มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่าปล่องพญานาค มีความกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ก่อขอบปูนเป็นตัวพญานาคสูงกว่า 120 เซนติเมตร และมีตำนานผีจ้างฉายหนัง 2.)ปัญหาการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ประกอบด้วย(1) การขาดทิศทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยว  (2) สินค้าและบริการขาดคุณภาพ  (3) คณะกรรมการบริหารขาดความรู้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 3.)กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด เป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ (1) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว  (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าและการบริการ  (3) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยว (4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว 4.)ผลการประเมินยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเป็นประโยชน์   ทั้ง 4 ยุทธศาสตร์มีค่าคะแนนรวมทุกด้านเกินร้อยละ 60 ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน

 

Abstract

The objectives of this study were: 1) to investigate the circumstances and problems of tourist attractions management at the sacred site of Khamchanod, Bandung District, Udon Thani Province; 2) to propose the management strategy for tourist attractions at the sacred site of Khamchanod, Bandung District, Udon Thani Province; and 3) to evaluate the management strategy for tourist attractions at the sacred site of Khamchanod, Bandung District, Udon Thani Province. Mixed method research was used in this study. the target groups were 20 community leaders , 12 management committees at the sacred site of Khamchanod, 40 experts and  20 stakeholders. Research instrument was interview form , focus group discussion form,  Future Search Conference (F.S.C.) ,SWOT Analysis and evaluation form ,content analysis including frequency counts and percentages was used to analyze the data. The results were revealed as follows:1.) The generality Khamchanod an area of ​​approximately 20 acres with 1,865 trees chanod  in flood season Khamchanod will rise at low tide Khamchanod will remain in place. A court in Sri suttho Naka Works, a mulatto who believes that to respectfully wish to glory and fortune. A sacred pond serpent called the chimney with a width of 5 meters long by 5 meters before the cement is greater than 120 centimeters, and the dragon is a legendary ghost employment screening. 2.)The problems of the sacred site of Khamchanod were  (1) A lack of direction in the promotion of tourism  (2) The lack of quality products and services  (3) Lack of knowledge of the executive board in the  management of Tourist destinations 3.) There were four proposed management strategies for tourist  attractions at the sacred site of Khamchanod as follows: Strategy I: Tourism Promotion  II: Development of products and services  III: Tourism administration and management  IV: Development of human resources in tourism 4.) The evaluation of feasibility and utilization of management strategy for tourist attraction at the sacred site of Khamchanod for the four strategies found that the overall scores were above  60 percent which passed the evaluation criteria.

 

 

Downloads

Published

2018-01-08

How to Cite

เดชชาตรี ณ., แสนโภชน์ ก., อื้อศรีวงศ์ อ., & ทุริสุทธิ์ ธ. (2018). ยุทธศาสตร์การจัดการแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. Journal of Humanities and Social Sciences (HUSOKKU), 34(3), 224–246. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/109825

Issue

Section

บทความวิชาการ