กระดานโดดทางสังคม : คะแนนสถานภาพอาชีพนายหน้าแรงงานไทย

Authors

  • ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์
  • ดุษฎี อายุวัฒน์
  • อรนัดดา ชิณศรี

Keywords:

คะแนนสถานภาพอาชีพ, การเลื่อนชั้นทางสังคม, นายหน้าแรงงานไทย, แรงงานคืนถิ่น

Abstract

กระดานโดดทางสังคม : คะแนนสถานภาพอาชีพนายหน้าแรงงานไทย

Social Mobility Springboard: Occupational Prestige of Thai Labour Brokers

 

บทคัดย่อ

                การย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติเป็นหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญของยุคสมัยปัจจุบัน ผู้คนกว่า 200 ล้านคน ทำงานนอกประเทศเกิด ปรากฏการณ์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีการศึกษาเป็นจำนวนมากในประเด็นการย้ายถิ่น แต่ส่วนใหญ่ การศึกษาเหล่านั้นมักมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ และการปฏิบัติการ ของแรงงานผู้ย้ายถิ่น ในสถานที่ปลายทาง แต่ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาในในประเด็นที่แตกต่างออกไป โดยมุ่งนำเสนอค่าคะแนนสถานภาพอาชีพของนายหน้าแรงงาน ผู้เป็นแรงงานไทยคืนถิ่นที่กลับจากการทำงานในต่างประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ ผ่านแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนายหน้าแรงงาน จำนวน 321 คน สุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ จากทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2553 – 2554 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาผลของการเลื่อนชั้นทางสังคม โดยใช้คะแนนสถานภาพอาชีพ พบว่า คะแนนสถานภาพอาชีพนายหน้าแรงงาน มีค่า .1934 ซึ่งสูงกว่าคะแนนสถานภาพอาชีพเดิมของพวกเขา ทั้งสองกลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มอาชีพเกษตรกรรม และกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมและบริการ นอกจากนี้ยังพบว่า การเลื่อนชั้นทางสังคมของนายหน้าแรงงาน เป็นการเลื่อนชั้นในแนวดิ่ง และมีลักษณะเป็น "การเลื่อนสถานภาพอาชีพ"

 

คำสำคัญ คะแนนสถานภาพอาชีพ, การเลื่อนชั้นทางสังคม, นายหน้าแรงงานไทย, แรงงานคืนถิ่น

 

Abstract

International labour migration is one of the major issues of our time. Nowadays around 200 million people work outside their country of birth. This rapidly increasing phenomenon is examined in a large number of studies on migration. Most of these studies focus on experiences and practicalities of migrants at the place of destination. In this study, we provide insight into the other issue of the migration study by present occupational prestige for indicated social mobility of Thai labour brokers who were return migrant from oversea working. The data were collected via structural interview with 321 samples by systematic sampling from all provinces in the Northeast of Thailand during year 2010 - 2011. Data analysis for social mobility was made by occupational prestige. The result indicated that occupational prestige of labour brokers was 0.1934. It was higher than their old occupational prestige both agricultural occupation and industrial-service occupation. We found that social mobility of labour brokers was upper vertical mobility type and it was “Occupational Mobility”

 

Key Words: Occupational Prestige, Social Mobility, Thai Labour Brokers, Return Migrants

Downloads

Issue

Section

สารบัญ