สำรวจความต้องการแบบเรียนหลักในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 1-4 ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้แต่ง

  • คุณัชญ์ สมชนะกิจ
  • เคนอิชิโร คุทซึนะ

คำสำคัญ:

สำรวจความต้องการ, แบบเรียน, ภาษาญี่ปุ่น, มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการแบบเรียนหลักในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 1-4 ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยทักษิณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาวิชาเอกภาษาญี่ปุ่นมหาวิทยาลัยทักษิณ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 103 คน ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยะมะเนะ (1973) ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคมถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความต้องการสูงสุด 4 อันดับแรก เป็นความต้องการด้านเนื้อหาภายในแบบเรียน โดยความต้องการให้มีการอธิบายไวยากรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับไวยากรณ์ในบทมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (gif.latex?\bar&space;x= 4.57, S.D. = 0.65) และค่าเฉลี่ยความต้องการภาพประกอบภายในบทเป็นภาพถ่ายของจริงน้อยที่สุด ( gif.latex?\bar&space;x= 3.82, S.D. = 1.09) 2) ความต้องการด้านรูปแบบตำราที่สูงที่สุด คือ มีเสียงอ่านกำกับอยู่ด้านบนของตัวอักษรคันจิ (ร้อยละ 31.07) ความต้องการด้านเนื้อหาในบทเรียนที่สูงที่สุด คือ มีการอธิบายไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไวยากรณ์ในบท(ร้อยละ 31.07) ความต้องการด้านองค์ประกอบศิลป์ที่สูงที่สุด คือ การจัดองค์ประกอบในแต่ละหน้ามีความน่าสนใจ กระตุ้นให้อยากอ่าน (ร้อยละ 22.33) ความต้องการด้านรูปแบบของแบบฝึกหัดที่สูงที่สุด คือ มีแบบฝึกหัดหลากหลายรูปแบบ(ร้อยละ 31.07) อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบแต่ละรายข้อค่าร้อยละความต้องการไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนต้องการตำราที่มีองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านรวมกัน ผู้สอนจึงควรวิเคราะห์ความต้องการแบบเรียนของผู้เรียน หากมีด้านใดที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียนผู้สอนควรเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มสัมฤทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07