วัฒนธรรมไทยที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สามารถ รอดสันเทียะ
  • ประมาณ เทพสงเคราะห์
  • สืบพงศ์ ธรรมชาติ
  • อุทิศ สังขรัตน์

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมไทย, ที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชน, ชุมชนบ้านกำ แพงเพชร

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัฒนธรรมไทยด้านระบบความเชื่อ ระบบการทำ มาหากินและระบบการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนา ชุมชนบ้านกำ แพงเพชร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การ สังเกตแบบมีส่วนร่วม และสนทนากลุ่มกับผู้นำ แกนนำ ทางศาสนา ผู้อาวุโส กลุ่มผู้นำ การปกครองท้องถิ่น และกลุ่มองค์กรสภาชุมชนเทศบาล ตำ บลกำ แพงเพชร จำ นวน 18 คน นำ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตีความหาข้อสรุปและนำ เสนอข้อมูลด้วยระเบียบวิธี พรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ระบบความเชื่อประกอบด้วย ความเชื่อเกี่ยวกับ ธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งสามารถใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชนด้วยการ พัฒนาคนในชุมชนให้มีความเชื่ออย่างมีเหตุผล ปฏิบัติตามแบบพิธีกรรมต่าง ๆ ปฏิบัติ ตามกฎของชุมชนอย่างเคร่งครัด และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ระบบ การทำ มาหากิน ประกอบด้วยอาชีพของชุมชน การบริหารจัดการระบบการทำ มา หากิน และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมควบคู่การทำ มาหากินสามารถใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชนด้วยการพัฒนาคนในชุมชนให้ประกอบอาชีพที่มั่นคง พัฒนา เศรษฐกิจและสังคมให้คนในชุมชนมีรายได้ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีการผลิต สินค้าอุปโภคและบริโภค บริการชุมชนอย่างยั่งยืน และระบบการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ประกอบด้วย วิถีประชาที่ชุมชนใช้เป็นแบบอย่าง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติ จากจิตสำ นึกของคนในชุมชน การยึดถือกฎหมายบ้านเมืองเป็นบรรทัดฐานในการ ดำ เนินชีวิต สามารถใช้เป็นฐานในการพัฒนาชุมชนด้วยการพัฒนาคนในชุมชนให้มี ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น และการเคารพกฎกติกาของสังคม การรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดจากบรรพบุรุษ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07