มวย” ก่อนรัฐชาติไทยสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท เอกฉาย

คำสำคัญ:

มวย, มวยไทย, รัฐจารีตโบราณ, รัฐชาติสมัยใหม่, รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายสภาพของ “มวย” จารีตของไทยก่อนการเกิดรัฐชาติไทยสมัยใหม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว การอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงของ “มวย” สู่ “มวยไทย” มักอธิบายเพียงแค่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการคาดเชือกสู่การสวมนวม โดยไม่ได้อธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงของรัฐและสังคมที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนจากมวยสู่มวยไทย เพราะโครงสร้างของรัฐจารีตโบราณกับรัฐชาติสมัยใหม่นั้นมีความแตกต่างกัน ความแตกต่างของรัฐทั้ง 2 แบบนี้ ทำให้การดำรงอยู่ของวิชามวยทั้ง 2 แบบแตกต่างกันออกไปด้วย บทความชิ้นนี้ต้องการแสดงให้เห็นสภาพของมวยบนพื้นฐานโครงสร้างของรัฐจารีตโบราณ จากการศึกษาสรุปว่า มวยในสมัยรัฐจารีตโบราณมีความแตกต่างกันออกไป เช่น มวยแต่ละสายนั้นมีวิธีการคาดเชือกในรูปแบบที่แตกต่างกันก่อนชกมวย และมีกลยุทธ์ในการชกมวยที่แตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นผลจากปัจจัย 4 ประการ ที่ทำให้วิชามวยนั้นมีความแตกต่างกัน อันได้แก่ ความยากลำบากของการเดินทางในสมัยจารีต การมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการเดินทางระยะไกล การก่อตัวและการล่มสลายของชุมชนทางการเมืองในช่วงเวลาที่ต่างกัน การเผยแพร่วิชามวยในลักษณะของตำราเป็นไปด้วยความลำบาก เป็นต้น ซึ่งสภาพของความแตกต่างของวิชามวยดังกล่าวจะถูกกำจัดออกไป เมื่อรัฐจารีตโบราณเปลี่ยนสภาพไปเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ และทำให้มวยกลายเป็นมวยไทยในเวลาต่อมา

References

เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช. (2555). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อดีตถึงปัจจุบัน (004330). เชียงใหม่ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่อง ‘เมืองละโว้” ยัน3,000 ปีไม่เคยร้าง ชี้ลพบุรีแสดงความเป็นมา “คนไทย”
ชัดสุด. (2560). สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.matichon.co.th/bullet-news- today/news_773924.

เขตร ศรียาภัย. (2550). ปริทัศน์มวยไทย. กรุงเทพฯ : มติชน.

จรัสเดช อุลิต, แสวง วิทยพิทักษ์, สนอง แสงสุข, ศรณ์ สุขพิมาย, พัฒนา บุญวงศ์ และธานี หอมจำปา. (2556). การจัดการความรู้มวยไทย 5 สาย. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม.

ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2550). เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย วินิจกุล. (2554). "เสียดินแดน" เป็นประวัติศาสตร์หลอกไพร่ไปตายแทน. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2562, จาก https://prachatai.com/journal/2011/02/33012.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (ม.ป.ป.). รัฐสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=รัฐสมัยใหม่.

นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยา. (2505). สาส์นสมเด็จ เล่ม ๒๒ ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.

พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร. (2560). 3,000ปี ลพบุรีไม่เคยร้าง “ขรรค์ชัย-สุจิตต์” ชวนทอดน่องเมืองละโว้ ค้นต้นกำเนิดอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_771434.

ยังฮัสแบนด์, ยอร์ช. (2559). พันแปดร้อยไมล์จากพม่าสู่สยาม: ปฏิบัติราชการลับในเมืองเชียงตุง (สุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์, ผู้แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ : ริเวอร์ บุ๊คส์.

ลาลูแบร์, เดอะ. (2510). จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์ (สันต์ ท. โกมลบุตร, ผู้แปลและ
เรียบเรียง). กรุงเทพฯ : ก้าวหน้า.

วันวลิต, เยเรเมียส. (2548). รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วันวลิต) (นันทา
วรเนติวงศ์ และวนาศรี สามเสน, ผู้แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ศรีสัชนาลัยบดี, พระยา. (2518). พระยาพิไชยดาบหักและประวัติเมืองพิไชย. พระนคร : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ.

สมพร แสงชัย, อดิศร (ชวลิต) ไกรว่อง, วินัย จำปาอ่อน, ประไพร จันทะบัณฑิต และวชิรา วิสุกัน. (2557). มวยไทยเดิม. กรุงเทพฯ : ทิพเนตร์การพิมพ์.

สมพร แสงชัย. (2545). มวยไทย ศิลปะมวยไทยสายพระยาพิชัยดาบหัก. อุตรดิตถ์ : พี. ออฟเซ็ทอาร์ท.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2558). การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่: ประวัติศาสตร์สังคมไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2553). มวยไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558). โคราชของเรา. กรุงเทพฯ : มติชน.

เหมษมาหาร, คุณพระ. (2472). ตำรามวย. พระนคร : โรงพิมพ์บุญช่วยเจริญ.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2555). การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ถึงพุทธศักราช ๒๔๗๕. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรุณ เวชสุวรรณ. (2550). มวยไชยา และบางเรื่องเกี่ยวกับภาคใต้. กรุงเทพฯ : อรุณวิทยา.

อัญชลี สุสายัณห์. (2552). ความเปลี่ยนแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30