ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนในระดับปฐมวัยของผู้ปกครองในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • เสาวภาคย์ สว่างจันทร์
  • พรศิลป์ ทองคีรี

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, ผู้ปกครอง, การตัดสินใจเลือกโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลัง การเดินทางและค่าบำรุงการศึกษา มาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษา การตัดสินใจเลือกโรงเรียน และปัจจัยที่ทำนายการตัดสินใจเลือกโรงเรียนระดับปฐมวัยของผู้ปกครอง โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งเก็บแบบสอบถามจากผู้ปกครองเด็กปฐมวัย สัมภาษณ์เชิงลึกและประชุมกลุ่มย่อยตัวแทนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี ตอนต้น ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระยะทางระหว่างบ้านกับโรงเรียนน้อยกว่า 5 กิโลเมตร ผู้ปกครองรับ-  ส่งบุตรหลานเอง ไม่มีค่าบำรุงการศึกษา และมาตรฐานคุณภาพของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ปกครองตัดสินใจเลือกโรงเรียนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่ทำนายการตัดสินใจเลือกโรงเรียนเพราะต้องการให้บุตรหลานเป็นคนเก่ง คนดีและคนมีความสุข ได้แก่ ความสัมพันธ์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินความก้าวหน้าของเด็ก ความปลอดภัย สุขภาพและโภชนาการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ครูและบุคลากรของสถานศึกษา ความร่วมมือกับครอบครัวและชุมชน การจัดการและความเป็นผู้นำ และรูปแบบการเดินทางระหว่างบ้านกับโรงเรียน

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

กรมสุขภาพจิต. (2546). ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี : สํานักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องให้ใช้มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กษมน ธรรมฆนรส. (2556). การศึกษาการเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนของผู้ปกครอง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กาญจณี ขันคำ. (2557). ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนอนุบาล หลักสูตรสองภาษาในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ขนิษฐา ชัยชนะ. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนของผู้ปกครองในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ลำปาง : มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

เทศบาลตำบลคลองแงะ. (2560). การสำรวจจำนวนเด็กในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ ประจำปี 2559. สงขลา : เทศบาลตำบลคลองแงะ.

นันทพงษ์ โภคาพานิชย์และคณะ. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางเพื่อปรับปรุงการจราจรของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์). ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560. 531-541. วันที่ 20 มกราคม 2560 ณ อาคาร 34 และอาคาร 15. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปาริชาติ ตั้งศักดิ์ชัยสกุล. (2554). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกชน ระดับก่อนประถมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองรังสิต จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์ และกมลพร สอนศรี. (2560). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10 (1), 1680-1697.

ฟ้าใส นามเทียร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนขนาดเล็กใน กรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9(3), 327-338.

รัตติยา พงษ์ปลัด. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมสถานศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี
เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : ราชกิจจานุเบกษา.

วนิดา งามทอง. (2558). กลยุทธ์การบริหารปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนในอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณ์วรีย์ จันทร์ฉายรัศมี. (2554). การเลือกโรงเรียนอนุบาลของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเครือ
จิมโบรี เพลย์แอนด์มิวสิค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (2555). มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ คู่มือการดำเนินงานตามมาตรฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพัตรา ศิริมา. (2552). การศึกษาการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อำภา มานะวัฒนากิจ. (2552). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนอนุบาลเอกชนเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ASEAN Secretariat. (2017). Asean Early Childhood Care, Development and Education Quality Standards. Jarkata : ASEAN Secretariat.

Australian Children’s Education and Care Quality Authority. (2017). Guide to the National Quality Framework. Sydney : Australian Children’s Education and Care Quality Authority.

National Association for the Education of Young Children (NAEYC). (2018). NAEYC Early Learning Program Accreditation Standards and Assessment Items. Washington, D.C. : National Association for the Education of Young Children (NAEYC).

National Center for Safe Routes to School. (2011). School travel patterns from 1969-2009.
The U.S. Department of Transportation conducts the National Household Travel Survey (NHTS).

Unesco. (2015). Incheon Declaration and SDG4 – Education 2030 Framework for Action. Paris : Unesco.

บุคลานุกรม
พงษ์ศักดิ์ บัวเพชร (ผู้ให้สัมภาษณ์). เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองแงะ เลขที่ 20 หมู่ที่ 5 ถนนกอบกุลอุทิศ 3 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560.

พรศิลป์ ทองคีรี (ผู้ให้สัมภาษณ์). เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่สำนักงานเทศบาลตำบลคลองแงะเลขที่ 48 หมู่ที่ 5 ถนนกอบกุลอุทิศ 3 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560.

วิรัตน์ แท่นจันทร์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองแงะ เลขที่ 20 หมู่ที่ 5 ถนนกอบกุลอุทิศ 3 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2560.

ศุภรัตน์ ศักดิ์ศรี (ผู้ให้สัมภาษณ์). เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองแงะ เลขที่ 20 หมู่ที่ 5 ถนนกอบกุลอุทิศ 3 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2560.

เอกรัตน์ มิ่งเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์). เสาวภาคย์ สว่างจันทร์ (ผู้สัมภาษณ์). ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลคลองแงะ เลขที่ 20 หมู่ที่ 5 ถนนกอบกุลอุทิศ 3 ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30