การธำรงและพลวัตวัฒนธรรมพุทธศาสนา ของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

ผู้แต่ง

  • สมพร ขุนเพชร ดุษฎีบัณทิต หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การธำรง, พลวัต, วัฒนธรรมพุทธศาสนา, ชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย, Maintenance, Dynamics, Buddhist Culture, Malaysians of Thai Descent

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการธำรงและพลวัตวัฒนธรรมพุทธ ศาสนาของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย โดยใช้วิธีวิจัยเชิง คุณภาพ ด้วยการสังเกต การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับผู้ให้ข้อมูล หลักที่เป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตัน จำนวน 30 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ตีความหาข้อสรุป และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่าพระเถรานุเถระในรัฐกลันตันประเทศมาเลเซียมีบทบาทหน้าที่ และมีภารกิจหลักในการช่วยธำรงพุทธศาสนาให้ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหาร จัดการวัด การให้ความสำคัญกับการศึกษาพระไตรปิฎก ทั้งพระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม การบวชเรียนของพุทธศาสนิกชน การจัดการเรียนการสอนภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมไทย รวมทั้งการให้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้ใฝ่ในธรรม อย่างไรก็ตาม การเผยแผ่ศาสนายังมีอุปสรรค เพราะปัจจุบันพระสงฆ์ส่วนใหญ่มักจะบวชเรียนใน ระยะเวลาสั้น ๆ จนทำให้บางวัด ไม่มีพระจำพรรษาในบางปี ขาดผู้ดูแลและเป็นที่พึ่ง ของชุมชน นอกจากนี้ การเผยแผ่ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมไทยผ่านสื่อมวลชน ก็ยังมีข้อจำกัด เพราะขาดผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ จึงทำห้มีกิจกรรมด้านนี้ค่อนข้างน้อย ประกอบกับชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน การที่จะอนุรักษ์หรือธำรงวัฒนธรรมพุทธศาสนาด้วยกลุ่มของตนเองจึงเป็นไปได้ยาก ต้องอาศัยการ ช่วยเหลือและสนับสนุนจากชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนเป็นส่วนใหญ่ เป็นเหตุให้วัฒนธรรม พุทธศาสนาต้องถูกปรับเปลี่ยน เกิดพลวัตในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะรูปแบบของ วัดไทยที่มีรูปแบบถึง 3 ลักษณะ คือ วัดที่มีรูปแบบเดิมเพราะไม่ได้รับการช่วยเหลือ จากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น วัดที่ปรับเปลี่ยนแบบผสมผสาน เนื่องจากมีชาวมาเลเซียเชื้อ สายจีนและเชื้อสายอินเดียให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งวัดที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ต่างไปจากเดิม (ลักษณะคล้ายมหายาน) เนื่องจากมีคนจีนเข้ามามีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการ

 

Maintenance and Dynamics of Buddhist Culture among Malaysians of Thai Descents in the State of Kelantan, Malaysia.

Somporn Khunpet

Doctorate student Program in Cultural Studies, Thaksin University

This research aimed to study the maintenance and dynamics of Buddhist culture among Malaysians of Thai descent in the State of Kelantan in Malaysia. The study applied the qualitative research through observations, Focus Group and in-depth interviews with 30 key informants among Malaysians of Thai descent in the State of Kelantan in Malaysia. The data were analyzed for conclusions and the results presented using a descriptive analysis technique. The results show that Buddhist monks of all ranks in Kelantan, Malaysia play a role in the maintenance of Buddhism whether in terms of management of Buddhist temples, the emphasis on studying the Tripitaka including Vinaya, Sutra and Abphidthumma, on Buddhist monkhood, teaching Thai language, Buddhism and Thai culture, as well as the promotion of the temples to be the heart and soul of the followers. However, the propagation of Buddhism also faces an obstacle due to the fact that majority of current monks are ordained in the short term, resulting in lack of monks residing in the temples to take care of the community in some years. In addition, the community has limitations in propagation of the religion, Thai language and culture through the media due to the lack of specialist in the field, only with quite a few related activities. Most Malaysians of Thai descent were relatively poor, thus, to conserve or preserve the Buddhist culture with its own group is unlikely. They require the support of the Malaysian Chinese mostly, leading to a modification of Buddhist culture with the dynamics of 3 new patterns of Buddhist temples existing in the community, i.e. temples of original model-those having no assistance from other ethnic groups, temples with integrative modification due to assistance provided by Chinese and Indian Malaysians and those with total modification from the original forms (similar to Mahayana architecture) due to influence of Chinese who have a role in management of the temple.

Downloads