การจัดการวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • นิตติยา ทองเสนอ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • อุทิศ สังขรัตน์ อาจารย์ ดร. สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ตำบลเกาะหมาก, Cultural and Local wisdom management, Creative tourism, Koh Mak district

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัด พัทลุง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อย และนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ผลการ ศึกษาพบว่า การจัดการวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ชาวบ้านในตำบลเกาะหมาก มีดังนี้

1) การรื้อฟื้นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมของชุมชนบางอย่างที่กำลัง เลือนหายขึ้นมาใหม่

2) การปลุกจิตสำนึกทางด้านวัฒนธรรมและให้เกิดขึ้นในชุมชน

3) การส่งเสริมปราชญ์ชาวบ้านและครูภูมิปัญญาให้มีบทบาทในการถ่ายทอดความรู้ และการอนุรักษ์สืบสาน

4) การใช้วิถีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตและวิถีประมงเพื่อการท่องเที่ยว

5) การกำหนดกิจกกรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้เป็นจุดท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาจะนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

 

Culture local wisdom Management for Creative tourism : A cast study of Koh mark Sub-District, Pakpayoon District, Patalung Province.

Nittiya Tong-sanoer1 and Utit Sungkharat2

1M.A. Student, Major Community Ecotourism Management, Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University, Hat Yai Campus.

2Ph.D,Lecturer,Program Human and Social Development, Department of Educational, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University, Hatyai Campus.

This research objective to study the cultural and local wisdom management for creative tourism a cast study of Koh Mark district. Pakpayoon sub-district, pattalung province Qualitative research by , in-depth interview, participant observation, and focus group subsidiaries And the presentation of the results of the study with descriptive analysis study. Management culture and wisdom.

1.To revive back the traditional culture and local community

2.create awareness of culture and for the community.

3. Promoting the local scholars and teachers wisdom to play an important role in the transfer of knowledge. Preservation and Conservation

4. using of the culture and way of life of fishing to tourism.

5. Create route for creative tourism finally the results from the case study will be used as guide in the development of Creative Tourism Management in sustainable community.

Downloads