บททดลองนำเสนอว่าด้วยพัฒนาการอุดมศึกษาไทยภายใต้สงครามเย็น: กำเนิดวงวิชาการไทย นักวิชาการชาตินิยม และชาตินิยมทางปัญญาภายใต้เงาอินทรี

ผู้แต่ง

  • สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์

คำสำคัญ:

สงครามเย็น, วงวิชาการไทย, ชาตินิยมวิชาการ

บทคัดย่อ

          บทความนี้มุ่งนำเสนอพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอุดมศึกษาและวงวิชาการไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายสังคมศาสตร์ โดยเสนอว่าการพัฒนาอุดมศึกษาและวงวิชาการไทย นับแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทั่งถึงทศวรรษ 2530 ไม่ได้เป็นผลมาจากการบริหารงานและวางแผนจากบนลงล่าง (top-down) ของหน่วยราชการไทยเพียงด้านเดียว แต่เป็นมรดกจากอิทธิพลและความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาภายใต้บริบทสงครามเย็น อย่างไรก็ตามอิทธิพลและความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกานี้ได้ก่อให้เกิดภาวะความย้อนแย้ง (paradox) ในช่วงปลายทศวรรษ 2500 ที่วงวิชาการ

ไทยเริ่มมองบทบาทอเมริกันว่าเป็นการสร้าง “อาณานิคมทางปัญญา” (intellectualimperialism) กระทั่งนำไปสู่การก่อตัวของกระแส “ชาตินิยมทางปัญญา” (intellectual nationalism) ในวงวิชาการไทย ที่ส่งผลให้เกิดการผลิตงานวิชาการของ “นักวิชาการชาตินิยม” (nationalist scholars) เพื่อปลดปล่อยวงวิชาการไทยจากสถานะ “อาณานิคมทางปัญญา”

            

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07